การจำแนกชนิดแบคทีเรียสาเหตุโรคใบแห้งของหอม
#1
การจำแนกชนิดแบคทีเรียสาเหตุโรคใบแห้งของหอม 
ทิพวรรณ กันหาญาติ, ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล, บูรณี พั่ววงษ์แพทย์, รุ่งนภา ทองเคร็ง และกาญจนา ศรีไม้
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          ดำเนินการเก็บตัวอย่างโรคใบแห้งของหอมจากแหล่งปลูกหอมและฟื้นฟูเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas sp. สาเหตุโรคใบแห้งของหอมที่เก็บรักษาไว้ในแหล่งเก็บเชื้อของกลุ่มวิจัยโรคพืชเพื่อจาแนกชนิด ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 – กันยายน 2561 พบว่าเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคมีลักษณะโคโลนีกลม ขอบเรียบ ผิวมัน สีเหลือง การพิสูจน์โรคตามวิธีการของ Koch สามารถทำให้เกิดอาการของโรคบนหอมแดง หอมแบ่ง และหอมหัวใหญ่ได้ ผลการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา คุณสมบัติทางสรีรวิทยาและชีวเคมีของเชื้อแบคทีเรีย พบว่าเป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปร่างเป็นท่อน สามารถเคลื่อนที่ได้ เจริญในสภาพที่มีอากาศ เจริญได้ในอาหารที่มีเกลือ 4% สามารถผลิตเอนไซม์ catalase และ pectinase แต่ไม่ผลิตเอนไซม์ oxidase, nitrate reductase, arginine dihydrolase และ urease เชื้อสามารถย่อย gelatin, casein, esculin, cellulose, Tween 80 และแป้งได้ สามารถสร้าง H2S และเจริญบนอาหาร YPGA ที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส แต่ไม่เจริญที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส สร้างกรดจาก cellobiose lactose และ glycerol ได้ แต่เชื้อไม่สร้าง indole และไม่สร้างเม็ดสีเรืองแสงบนอาหาร King’s B การวิเคราะห์ลาดับนิวคลีโอไทด์บางส่วนของยีน 16S rDNA พบว่าจัดอยู่ในกลุ่มของเชื้อ Xanthomonas spp. การจาแนกชนิดของเชื้อด้วยวิธี Multilocus sequence analysis (MLSA) จากยีน dnaK, fyuA, gyrB และ rpoD รวมทั้งข้อมูลคุณสมบัติทางชีวเคมีและสรีรวิทยาของเชื้อแบคทีเรีย สามารถระบุได้ว่าเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคใบแห้งของหอมมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับเชื้อ X. axonopodis pv. Allii


ไฟล์แนบ
.pdf   112_2561.pdf (ขนาด: 513.95 KB / ดาวน์โหลด: 2,531)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม