การจำแนกไส้เดือนฝอยรากแผล (Pratylenchus spp.) ในแหล่งปลูกหอมแดงด้วยวิธีอณูชีววิทยา
#1
การจำแนกไส้เดือนฝอยรากแผล (Pratylenchus spp.) ในแหล่งปลูกหอมแดงด้วยวิธีอณูชีววิทยา
ไตรเดช ข่ายทอง, ธิติยา สารพัฒน์, วีรกรณ์ แสงไสย์ และรุ่งนภา ทองเคร็ง
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          เก็บตัวอย่างดินจากพื้นที่ปลูกหอม ระหว่างเดือนตุลาคม 2559 ถึงเดือนมีนาคม 2561 ในจังหวัดศรีสะเกษ ยโสธร อุบลราชธานี บุรีรัมย์ นครราชสีมา แม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน อุตรดิตถ์ ตาก ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และนครปฐม รวม 128 ตัวอย่าง แยกไส้เดือนฝอยจากตัวอย่างดินและตรวจหาไส้เดือนฝอยรากแผล พบไส้เดือนฝอยรากแผลในตัวอย่างดิน 12 ตัวอย่าง เพิ่มปริมาณไส้เดือนฝอยรากแผลโดยการปลูกข้าวโพดลงในตัวอย่างดินที่ตรวจพบ และเลี้ยงเพิ่มปริมาณไส้เดือนฝอยรากแผลโดยเริ่มจากตัวเต็มวัยเพศเมีย 1 ตัว ในรากข้าวโพดในสภาวะปลอดเชื้อ เพื่อให้ได้ประชากรที่บริสุทธิ์ ตรวจสอบชนิดไส้เดือนฝอยรากแผลโดยวิธีทางอณูชีววิทยา โดยเปรียบเทียบลาดับนิวคลีโอไทด์ส่วน D2D3 expansion region ของ 28S large subunit ribosomal RNA gene กับฐานข้อมูล พบว่าคล้ายกับลาดับนิวคลีโอไทด์ชอง Pratylenchus dellatrei 11 ตัวอย่างและ P. brachyurus 1 ตัวอย่าง ซึ่งสอดคล้องกับการตรวจสอบทางสัณฐานวิทยา การเก็บตัวอย่างดินจากพื้นที่ปลูกหอมครั้งนี้ พบไส้เดือนฝอยรากแผลในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และราชบุรี ยังไม่มีข้อมูลการเข้าทำลาย และความเสียหายที่เกิดจากไส้เดือนฝอยรากแผลทั้ง 2 ชนิดต่อหอม ซึ่งควรศึกษาในลำดับต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   114_2561.pdf (ขนาด: 1.17 MB / ดาวน์โหลด: 2,301)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม