ชีวภัณฑ์ และปุ๋ยชีวภาพ นวัตกรรมเพื่อความสำเร็จของการขับเคลื่อนเกษตรปลอดภัย
#1
ชีวภัณฑ์ และปุ๋ยชีวภาพ นวัตกรรมเพื่อความสำเร็จของการขับเคลื่อนเกษตรปลอดภัย
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 3

          การผลิตพืชในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่วนใหญ่เป็นการผลิตโดยใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงและมีรูปลักษณ์สวยงาม อีกทั้งเกษตรกรส่วนใหญ่ขาดความรู้ในการผลิตพืชโดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารจัดการโรคและแมลงศัตรูพืช และการปรับปรุงบำรุงดิน ทาให้มีต้นทุนการผลิตสูงผลผลิตต่ำ ไม่ได้คุณภาพและมีสารพิษตกค้าง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกร และสิ่งแวดล้อม สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 (สวพ.3) จึงส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรใช้ชีวภัณฑ์ควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืช เพื่อลดความสูญเสียและเพิ่มผลผลิตพืชซึ่งเป็นแหล่งอาหารและรายได้ที่สำคัญ และมีความปลอดภัยต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้การใช้ปุ๋ยชีวภาพ เช่น แหนแดง เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนการผลิตพืช ซึ่งใช้ได้ทั้งแบบสดโดยปล่อยลงในนาข้าวเพื่อช่วยตรึงไนโตรเจนในอากาศให้พืชใช้ประโยชน์ได้หรือใช้แบบแห้งเป็นปุ๋ยไนโตรเจนและเป็นวัสดุปลูก ส่วนปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายฟอสเฟตที่ถูกตรึงไว้ในดิน 80 - 90% ให้อยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ การใช้ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ถึง 25% และปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ ที่มีจุลินทรีย์ที่ช่วยสร้างฮอร์โมนกระตุ้นการเกิดราก และส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช จึงช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีและรักษาสภาพแวดล้อมช่วยปรับปรุงบำรุงดินได้ดี ทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิต และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปลอดภัยซึ่งจะสนับสนุนให้การผลิตพืชของเกษตรกรได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP หรือเกษตรอินทรีย์ เพิ่มมากขึ้น


ไฟล์แนบ
.pdf   ชีวภัณฑ์ และปุ๋ยชีวภาพ นวัตกรรมเพื่อความสำเร็จของการขับเคลื่อนเกษตรปลอดภัย.pdf (ขนาด: 289.17 KB / ดาวน์โหลด: 1,212)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม