ศึกษาอัตราการใช้เชื้อราเขียว ในการควบคุมหนอนด้วงแรดมะพร้าว
#1
ศึกษาอัตราการใช้เชื้อราเขียว Metarhizium anisopliae (Metsch) Sorokin ในการควบคุมหนอนด้วงแรดมะพร้าว
เสาวนิตย์ โพธิ์พูนศักดิ์, อิศเรส เทียนทัด, วิไลวรรณ เวชยันต์ และยุทธนา แสงโชติ
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา และกลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

         ศึกษาอัตราการใช้เชื้อราเขียว Metarhizium anisopliae (Metsch) Sorokin ในการควบคุมหนอนด้ วงแรดมะพร้าว ได้ ทำการวิจัยในช่วงเดือนตุลาคม 2553 - กันยายน 2554 (รวมระยะเวลา 1 ปี) ที่ห้องปฏิบัติการเชื้อราโรคแมลง กลุ่มงานวิจัยการปราบศัตรูพืชทางชีวภาพ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และแหล่งปลูกมะพร้าวใน 2 พื้นที่ คือ ต.สามเรือน อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี และต.โรงหีบ อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม โดยดำเนินการดังนี้ นำเชื้อราเขียวของกรมวิชาการเกษตร (DOA) ที่ผ่านการคัดเลือกในห้ องปฏิบัติการว่ามีประสิทธิภาพในการควบคุมหนอนด้วงแรดมะพร้ าวมาเลี้ยงขยายเพื่อทดสอบในพื้นที่ที่เตรียมไว้ ศึกษาอัตราการใช้ เชื้อที่เหมาะสมต่อหน่วยพื้นที่โดยใช้ เชื้อราเขียว DOA ในอัตรา 200, 400, 600, 800 และ 1,000 กรัมต่อถังซีเมนต์ ขนาดเส้ นผ่านศูนย์กลาง 80 ซม. สูง 50 ซม. ซึ่งมีความจุ 0.25 ลูกบาศก์เมตร ทำการเปรียบเทียบกับเชื้อราเขียวจากกรมส่งเสริมการเกษตร (DOAE) และการไม่ใส่เชื้อ (control) ตรวจนับเปอร์เซ็นต์การติดเชื้อราเขียวในวันที่ 14 และ 28 ของการทดลอง ผลการทดสอบทั้ง 3 ครั้ง ที่ จ.ราชบุรี พบเปอร์เซ็นต์การติดเชื้อราเขียวส่วนใหญ่ในวันที่ 28 ของการทดลอง เปอร์เซ็นต์การติดเชื้อราเขียวทั้ง 3 ครั้งค่อนข้ างน้ อย ส่วนใหญ่พบน้ อยกว่า 50% จากการทดลองครั้งที่ 1 ในวันที่ 28 ของการทดลองมีแนวโน้ มการใช้ ที่เหมาะสมอยู่ที่อัตรา 200, 400 และ 800 กรัม โดยแสดงเปอร์เซ็นต์การติดเชื้อไม่แตกต่างกันที่ 13.69, 5.98 และ 5.19% ตามลำดับ การทดลองครั้งที่ 2 ในวันที่ 28 ของการทดลอง พบแนวโน้มการใช้ เชื้อราเขียว DOA ที่เหมาะสมอยู่ที่อัตรา 200, 400 และ 600 กรัม โดยมีเปอร์เซ็นต์การติดเชื้อไม่แตกต่างกันที่ 34.66, 57.12 และ 39.30% ตามลำดับ ส่วนการทดลองครั้งที่ 3 พบเปอร์เซ็นต์การติดเชื้อไม่แตกต่างกันในทุกอัตราที่ใช้ การติดเชื้อที่ 28 วัน อยู่ในช่วง 14.98 – 28.43% การทดสอบประสิทธิภาพที่ จ.สมุทรสงคราม พบเปอร์เซ็นต์การติดเชื้อทั้งในวันที่ 14 และ 28 ของการทดลอง โดยพบการติดเชื้อมากที่สุดในวันที่ 28 ของการทดลอง การติดเชื้อราเขียวส่วนใหญ่จะพบมากกว่า 50% ผลการทดลองทั้ง 3 ครั้ง พบเปอร์เซ็นต์การติดเชื้อราเขียวของ DOA ไม่มีความแตกต่างกันในทุกอัตราที่ใช้ทดสอบ ทั้งในวันที่ 14 และ 28 ของการทดลอง โดยผลการทดลองครั้งที่ 1 การติดเชื้อราเขียวของ DOA ที่ 28 วัน อยู่ระหว่าง 46.89 – 68.96% ซึ่งให้ผลไม่แตกต่างจากเชื้อของ DOAE ที่พบการติดเชื้อที่ 57.06% การทดลองครั้งที่ 2 การติดเชื้อราเขียวของ DOA ที่ 28 วัน อยู่ระหว่าง 64.88 – 83.42% ในขณะที่การติดเชื้อราเขียวของ DOAE อยู่ที่ 62.37% การทดลองครั้งที่ 3 การติดเชื้อราเขียวของ DOA ที่ 28 วัน อยู่ระหว่าง 46.24 – 67.43% ส่วนการติดเชื้อราเขียวของ DOAE อยู่ที่ 58.65% จากผลการทดลองทั้ง 2 พื้นที่พบว่า เชื้อราเขียวสายพันธุ์ DOA มีความเฉพาะเจาะจงและมีแนวโน้ มต่อการเกิดโรคกับหนอนด้ วงแรดมะพร้ าวสูงกว่าเชื้อราเขียวสายพันธุ์ DOAE โดยมีอัตราการใช้เหมาะสมที่ 200 กรัมต่อ 0.25 ลูกบาศก์เมตร นอกจากนี้ยังพบว่า สภาพอากาศ อุณหภูมิในกองล่อ และปริมาณเชื้อที่ใส่เป็นปัจจัยซึ่งมีผลต่อการติดเชื้อของหนอนด้วย


ไฟล์แนบ
.pdf   2247_2554.pdf (ขนาด: 129.88 KB / ดาวน์โหลด: 749)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม