การศึกษาชนิดของศัตรูพืชที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์วงศ์กะหล่ำที่นำเข้าจากต่างประเทศ
#1
การศึกษาชนิดของศัตรูพืชที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์วงศ์กะหล่ำที่นำเข้าจากต่างประเทศ
ศรีวิเศษ เกษสังข์, วันเพ็ญ ศรีชาติ, วานิช คำพานิช, ชลธิชา รักใคร่, โสภา มีอำนาจ
กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          กะหล่ำดอก (Brassica oleracea var. botrytis L.) กะหล่ำปลี (Brassica oleracea var. capitata L.) และกวางตุ้ง (Brassica chinensis var parachinensis) จัดอยู่ในวงศ์กะหล่ำ (Family Brassiceae) จากสืบค้นข้อมูลศัตรูพืชที่เข้าทำลายกะหล่่าดอก มีศัตรูพืชทั้งสิ้น 104 ชนิด จัดเป็นแมลง 47 ชนิด โปรโตซัว 1 ชนิด ไส้เดือนฝอย 6 ชนิด เชื้อรา 25 ชนิด แบคทีเรีย 12 ชนิด ไวรัส 4 ชนิด และวัชพืช 9 ชนิด กะหล่ำปลี มีศัตรูพืชทั้งสิ้น 143 ชนิด จัดเป็นแมลง 73 ชนิด โปรโตซัว 1 ชนิด ไส้เดือนฝอย 14 ชนิด หอยทาก 1 ชนิด เชื้อรา 24 ชนิด แบคทีเรีย 13 ชนิด ไวรัส 3 ชนิด และวัชพืช 9 ชนิด และกวางตุ้ง มีศัตรูพืชทั้งสิ้น 48 ชนิด จัดเป็นแมลง 19 ชนิด โปรโตซัว 1 ชนิด ไร 1 ชนิด ไส้เดือนฝอย 2 ชนิด เชื้อรา 12 ชนิด แบคทีเรีย 9 ชนิด ไวรัส 4 ชนิด และจากการตรวจวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการ โดยการสุ่มตัวอย่างเมล็ดพันธุ์พืชทั้ง 3 ชนิด ที่นำเข้าจากต่างประเทศระหว่างเดือนตุลาคม 2553 – กันยายน 2555 และดำเนินการตรวจสอบเชื้อโรคและศัตรูพืช โดยวิธีตรวจสอบด้วยตาเปล่า (Visual inspection) Blotter method Dilution plate method และปลูกสังเกตอาการ (Seedling symptom test) ในสถานกักพืช พบว่าเมล็ดพันธุ์กะหล่ำดอกที่นำเข้าจาก 12 ประเทศ ได้แก่ ไต้หวัน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน สหรัฐอเมริกา อิตาลี เกาหลีใต้ อินเดีย ชิลี เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เม็กซิโก และอาร์เยนตินา จ่ำนวน 143 ตัวอย่าง น้ำหนักนำเข้า 17.023 ตัน ตรวจพบเชื้อ Alternaria brassicicola, A. tenuis, A. raphani, A. rhadina, Cladosporium sp., Curvularia lunata, C. pallescens, Drechslera rostrata, Fusarium semitectum, F. solani, Stemphylium solani และ Ulocladium sp. เมล็ดพันธุ์กะหล่ำปลีนำเข้าจาก 12 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น ชิลี สาธารณรัฐประชาชนจีน สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ไต้หวัน เกาหลีใต้ เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ อินเดีย อิตาลี ฝรั่งเศส จำนวน 146 ตัวอย่าง น้ำหนัก 59.601 ตัน ตรวจพบเชื้อ Alternaria brassicicola, A. tenuis, Cladosporium sp., Curvularia lunata, Fusarium semitectum, F. moniliforme, F. solani, Phoma sp., Ulocladium sp. และ Stachybotrys sp. และเมล็ดพันธุ์กวางตุ้ง นำเข้าจาก 9 ประเทศ ได้แก่ นิวซีแลนด์ สาธารณรัฐประชาชนจีน เดนมาร์ก อิตาลี อินเดีย ใต้หวัน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และฮ่องกง จำนวน 136 ตัวอย่าง น้ำหนัก 782.651 ตัน ตรวจพบเชื้อ Alternaria brassicicola, A. tenuis, Fusarium semitectum, F. solani และ Ulocladium sp. และจากการนำเมล็ดพันธุ์ไปปลูกสังเกตอาการของโรค (Seedling symptom test) ในสถานกักกันพืช ไม่พบอาการผิดปกติกับต้นพืชวงศ์กะหล่ำทั้ง 3 ชนิด ดังกล่าว และได้ติดตำมตรวจสอบโรคในแปลงปลูกกะหล่ำดอกในท้องที่จังหวัดราชบุรี ตรวจพบโรคราน้ำค้าง (Downy mildew) ที่เกิดจากเชื้อรา Peronospora parasitica โรคเน่าเละ (soft rot) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Erwinia carotovora pv. carotovora ในแปลงปลูกกะหล่ำปลีในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย ตรวจพบโรคราน้ำค้าง (Downy mildew) ที่เกิดจากเชื้อรา Peronospora parasitica โรคเน่าเละ (soft rot) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Erwinia carotovora pv. carotovora อาการใบด่างของกะหล่ำปลีและการทำลายของเพลี้ยอ่อน หนอนใยผัก และหอยทาก และแปลงปลูกกวางตุ้งในท้องที่จังหวัดสุพรรณบุรี และนครปฐม ตรวจไม่พบการทำลายของโรคและศัตรูพืช จากการติดตามตรวจสอบโรคในแปลงปลูกของพืชวงศ์กะหล่ำทั้ง 3 ชนิด ไม่พบเชื้อโรคและศัตรูพืชที่ร้ายแรงทางกักกันพืช


ไฟล์แนบ
.pdf   2465_2555.pdf (ขนาด: 252.57 KB / ดาวน์โหลด: 922)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม