การทดสอบประสิทธิภาพของแมลงช้างปีกใสในการควบคุมแมลงหวี่ขาวใยเกลียว
#1
การทดสอบประสิทธิภาพของแมลงช้างปีกใสในการควบคุมแมลงหวี่ขาวใยเกลียว
ประภัสสร เชยคำแหง, รจนา ไวยเจริญ และอัมพร วิโนทัย
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การศึกษาประสิทธิภาพการกินของตัวอ่อนแมลงช้างปีกใส 4 ชนิด คือ Mallada basalis Chrysoperla carnea Chrysoperla rufiladis และ Plesiochrysa ramburi ในการควบคุมแมลงหวี่ขาวใยเกลียว ดำเนินการทดลองในห้องปฏิบัติการกลุ่มงานวิจัยการปราบศัตรูพืชทางชีวภาพ พบว่าแมลงช้างปีกใส M. basalis P. ramburi C. carnea และ C. rufiladis ระยะตัวอ่อน วัย 1, 2 และ 3 สามารถกินตัวอ่อนแมลงหวี่ขาวใยเกลียวได้เฉลี่ย M. basalis 50.15 ± 11.09 84.65 ± 22.57 207.15 ± 34.34, P. ramburi 41.10 ± 9.15 82.15 ± 20.04 209.8 ± 45.80, C. carnea 37.3 ± 8.24 89.75 ± 36.75 205.2 ± 50.99 และ C. rufiladis 25.75 ± 7.80 66.75 ± 14.96 184.7 ± 50.44 ตัวตามลำดับ รวมระยะตัวอ่อนของแมลงช้างปีกใสทั้ง 4 ชนิด สามารถกินตัวอ่อนแมลงหวี่ขาวใยเกลียวได้เฉลี่ย 341.95 ± 51.29 333.05 ± 48.18 332.25 ± 81.43 และ 280.4 ± 56.27 ตัวตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าแมลงช้างปีกใสทั้ง 4 ชนิด มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกันในการควบคุมแมลงหวี่ขาวใยเกลียว


ไฟล์แนบ
.pdf   2363_2555.pdf (ขนาด: 207.5 KB / ดาวน์โหลด: 961)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม