ชีววิทยาและการแพร่กระจายของดาดตะกั่ว
#1
ชีววิทยาและการแพร่กระจายของดาดตะกั่ว
เสริมศิริ คงแสงดาว, กลอยใจ คงเจี้ยง และภัทร์พิชชา รุจิระพงษ์ชัย
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสำนักวิจัยพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6

          ดาดตะกั่วเป็นวัชพืชที่พบมากในสวนกล้วยไม้ กำจัดให้หมดไปทำได้ยาก ได้ทำการทดลองที่เรือนทดลองของกลุ่มวิจัยวัชพืช และแปลงกล้วยไม้ของเกษตรกรที่อำเภอสามพรานและอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนกันยายน 2555 ผลการทดลอง พบว่า 1.1) เมล็ดดาดตะกั่วสามารถงอกได้ทันทีตั้งแต่เมล็ดสุกแก่แล้วดีดออกจากต้น เมล็ดงอกได้ดีที่สุดในสภาพมีแสง รองลงมาคือ เมล็ดที่อยู่ในดินงอกได้ดีกว่าเมล็ดที่ตกบนกาบมะพร้าว เมล็ดไม่งอกในสภาพมืด แต่เมื่อเมล็ดนั้นเจอแสงก็จะงอกได้ตามปกติ เมล็ดงอกได้ดีตั้งแต่เมล็ดสุกแก่จนถึงอายุ 1 เดือน และยังคงงอกได้ดีต่อไปจนถึงอายุ 4 เดือน หลังจากนั้นความงอกค่อยๆ ลดลงจนแทบไม่งอกเลยที่อายุ 8 เดือน 1.2) การเจริญเติบโตหลังจากดาดตะกั่วงอกจากเมล็ด ใบจริงคู่ที่ 3 แผ่ขยายเต็มที่ จะเริ่มแทงช่อดอกแรก รากแขนงทุกรากมีความแข็งแรง รากยาวและใหญ่ ยึดติดกับดินหรือกาบมะพร้าวแน่น ข้อที่โคนต้นถี่ การถอนทำให้ต้นขาดเหลือโคนต้นติดค้างอยู่ ยังคงแตกกิ่งใหม่ได้ปกติ 2) เมล็ดดาดตะกั่วที่ถูกดีดออกจากต้น เมื่อบนผิวดินหรืออยู่ในดินที่ระดับความลึก 1 เซนติเมตร จะงอกได้ดีที่สุดโดยงอกได้ 75.1% และ 70.0% ตามลำดับ เมล็ดจะงอกเร็วและมีจำนวนต้นมากที่สุด ตั้งแต่ 1 สัปดาห์หลังปลูก 3) การแพร่กระจายของเมล็ดดาดตะกั่วหลังจากดีดออกจากต้น (บันทึกเมื่อเมล็ดอายุ 80 วันหลังสุกแก่) พบว่าเมล็ดที่ลอยในน้ำ/เมล็ดที่อยู่บนผิวดินใต้น้ำ/เมล็ดที่จมฝังดินอยู่ในน้ำ จะสูญเสียความงอกและถูกทำลายโดยเชื้อราที่อยู่ในธรรมชาติ เมื่อนำเมล็ดมาเพาะไม่พบการงอกเลย ส่วนเมล็ดดาดตะกั่วที่อยู่ในที่แห้ง (เช่น บนใบกล้วยไม้/บนกาบมะพร้าว) พบว่าเมล็ดที่เริ่มทดลองเมื่ออายุ 1 และ 2 สัปดาห์หลังสุกแก่ มีความงอก 79.6% และ 83.3% ตามลำดับ 4)


ไฟล์แนบ
.pdf   2519_2555.pdf (ขนาด: 546.37 KB / ดาวน์โหลด: 866)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม