การผลิตแอนติซีรัมของเชื้อไวรัส Bean yellow mosaic virus
#1
การผลิตแอนติซีรัมของเชื้อไวรัส Bean yellow mosaic virus
สิทธิศักดิ์ แสไพศาล และวันเพ็ญ ศรีทองชัย
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และผู้เชี่ยวชาญ สำนักวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ

          Bean yellow mosaic virus พบอาการปรากฏชัดบนใบและดอก เป็นรอยด่างเป็นทางขีดสีขาวทำให้ดอกแกลดิโอลัสด่างโดยมีเพลี้ยอ่อน (Myzus persicae) เป็นแมลงพาหะทำให้เกิดการระบาดได้มากและรวดเร็วในแปลงเมื่อศึกษาบนพืชทดสอบ chenopodium โดยทำการปลูกเชื้อ (inoculation) ลงบนใบต้น chenopodium ด้วย sap inoculation พบแสดงอาการ chlorotic local lesions ใบป็นจุดสีเหลืองถึงน้ำตาลและใบมีรูปร่างผิดปกติ และเมื่อตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนพบอนุภาคไวรัส BYMV เป็นท่อนยาวคด การผลิตแอนติซีรัมของเชื้อไวรัส BYMV หลังแยกเชื้อไวรัสบริสุทธิ์ และนำไปฉีดกระต่ายทำการเจาะเลือดกระต่ายครั้งที่ 4 - 5 มีประสิทธิภาพสูงสุดสามารถทำปฏิกิริยาได้จนถึง 1:100,000 การสกัด gamma-globulin (IgG) และปรับความเข้มข้นของ IgG วัดความเข้มข้นของโปรตีน ด้วยเครื่อง spectrophotomer ได้ค่าความเข้มข้น IgG ของ BYMV เท่ากับ9.6 และเมื่อนำไปตรวจหาเชื้อ ให้ปฏิกิริยาเป็นบวก IgG ของ BYMV มีสีแดงเข้ม ไม่เกิดปฏิกิริยาข้ามกับพืชปกติ ดังนั้นจึงสามารถที่นำ IgG ของ BYMV นี้ไปใช้ในการตรวจหาเชื้อ Bean yellow mosaic virus (BYMV) ในแกลดิโอลัสได้


ไฟล์แนบ
.pdf   2524_2555.pdf (ขนาด: 233.11 KB / ดาวน์โหลด: 976)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม