ศึกษาประสิทธิภาพมาตรการสุขอนามัยพืชกับผลองุ่นสดนำเข้าจากเครือรัฐออสเตรเลีย
#1
ศึกษาประสิทธิภาพมาตรการสุขอนามัยพืชกับผลองุ่นสดนำเข้าจากเครือรัฐออสเตรเลีย
วรัญญา มาลี, ณัฏฐพร อุทัยมงคล, ปรียพรรณ พงศาพิชณ์, พรพิมล อธิปัญญาคม, ชมัยพร บัวมาศ, ดาราพร รินทะรักษ์ และศิริพร ซึงสนธิพร
กลุ่มวิจัยการกักกันพืช, กลุ่มวิจัยโรคพืช, กลุ่มกีฏและสัตววิทยา และกลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การศึกษาประสิทธิภาพมาตรการสุขอนามัยพืชกับผลองุ่นสดนำเข้าจากเครือรัฐออสเตรเลีย ดำเนินการที่กลุ่มวิจัยการกักกันพืช กลุ่มกีฏและสัตววิทยา กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และด่านตรวจพืชท่าเรือแหลมฉบัง ด่านตรวจพืชลาดกระบัง ด่านตรวจพืชท่าเรือกรุงเทพ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร ระหว่างเดือนตุลาคม 2554 ถึงกันยายน 2555 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพมาตรการสุขอนามัยพืชที่บังคับใช้ในการนำเข้าผลองุ่นสดจากเครือรัฐออสเตรเลียว่าสามารถป้องกันศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิตจากเครือรัฐออสเตรเลียมิให้ติดเข้ามากับผลองุ่นสดนำเข้าได้หรือไม่ ดำเนินการทดลองโดยสุ่มตัวอย่างผลองุ่นสดนำเข้าเพื่อตรวจสอบศัตรูพืชพบว่า องุ่นที่นำเข้าเป็นพันธุ์ Crimson eedless, Midnight beauty และ Thompson seedless มาจากแปลงปลูกในรัฐวิกตอเรียและรัฐนิวเซาท์เวลนอกเขตปลอดแมลงวันผลไม้ ที่กำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยความเย็น (cold treatment) ระหว่างการขนส่งทางเรือ ผลการตรวจสอบศัตรูพืช ณ ด่านตรวจพืชที่นำเข้า พบแมลงไม่มีชีวิต ได้แก่ เพลี้ยแป้งและถุงไข่ที่ฝ่อแล้ว จิ้งหรีด แมลงหางหนีบ ตัวหนอนของแมลงในอันดับ Diptera หนอนผีเสื้อ และหอยทาก ติดมากับผลองุ่นสดนำเข้า นอกจากนี้ยังพบเมล็ดวัชพืช และอาการผลเน่า ผลการตรวจจำแนกชนิดแมลงในห้องปฏิบัติการพบว่า เพลี้ยแป้งที่พบเป็นชนิด Pseudococcus sp. และหนอนแมลงวันที่พบไม่ใช่แมลงในวงศ์ Tephritidae การทดลองดังกล่าวจะดำเนินการซ้ำในปีต่อไป สำหรับเมล็ดวัชพืชที่พบอยู่ระหว่างจำแนกชนิดในห้องปฏิบัติการ


ไฟล์แนบ
.pdf   2537_2555.pdf (ขนาด: 372.91 KB / ดาวน์โหลด: 1,079)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม