เปรียบเทียบประสิทธิภาพสารสกัดประคำดีควาย ลำโพงและมะขามกับหอยเชอรี่
#1
เปรียบเทียบประสิทธิภาพสารสกัดประคำดีควาย ลำโพงและมะขามกับหอยเชอรี่
ชมพูนุท จรรยาเพศ, ปราสาททอง พรหมเกิด, สมเกียรติ กล้าแข็ง, ปิยาณี หนูกาฬ และดาราพร รินทะรักษ์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ทดสอบประสิทธิภาพระหว่างสารสกัดจากใบและก้านลำโพงขาว (Datula metel L.) กับหอยเชอรี่ Pomacea canaliculata Lamarck โดยใช้ตัวทำละลาย (solvent) ต่าง ๆ กัน ได้แก่ น้ำร้อน น้ำเย็น เมทานอล เอทานอล 70% เมทานอล อะซิโตน เฮคเซน ไดคลอโรมีเทน และเบนซิน พบว่า ลำโพงที่สกัดด้วยเมทานอล เอทานอล และอะซิโตน ได้สารสกัดที่สามารถฆ่าหอยเชอรี่ได้ดีทั้งที่ความเข้มข้น 10 และ 15 กรัม ที่ระยะเวลา 48 ชั่วโมง โดยให้เปอร์เซ็นต์การตายของหอยเชอรี่ได้ดีที่สุด 100 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ กรรมวิธีการใช้ 70% methanol และน้ำเย็น

         การใช้ตัวทำละลาย 4 ชนิด ในการสกัดสารจากลำโพงแห้งเพื่อใช้กำจัดหอยเชอรี่นั้นพบว่า กรรมวิธีการใช้ ethanol เป็นตัวทำละลายใช้ได้ดีที่สุดทำให้หอยเชอรี่ตาย 100 เปอร์เซ็นต์ และ 88.89 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้สารสกัดที่ความเข้มข้น 10 กรัม ภายในระยะเวลา 72 และ 48 ชั่วโมง ตามลำดับ โดยกรรมวิธีดังกล่าวไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่แตกต่างจากกรรมวิธีอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

          เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพสารสกัดจากผลประคำดีควาย ใบลำโพง ใบมะขาม กับหอยเชอรี่โดยมีกากเมล็ดชาน้ำมันเป็นสารเปรียบเทียบพบว่า พืชทั้ง 4 ชนิด สามารถฆ่าหอยเชอรี่ได้โดยที่ผลประคำดีควายใช้อัตราต่ำสุดคือ 0.03 กรัมต่อน้ำ 800 มล. นั่นคือ อัตรา 3 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อมีน้ำสูง 5 เซนติเมตร เทียบเท่ากับกากเมล็ดชาน้ำมัน


ไฟล์แนบ
.pdf   1609_2553.pdf (ขนาด: 115.76 KB / ดาวน์โหลด: 2,055)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม