เทคโนโลยีการลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายในการควบคุมโรคผลเน่าของเงาะและโรคแอนแทรคโนส
#1
เทคโนโลยีการลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายในการควบคุมโรคผลเน่าของเงาะและโรคแอนแทรคโนสของมะม่วงหลังการเก็บเกี่ยว
บุญญวดี จิระวุฒิ, อมรา ชินภูมิ, สุภา อโนธารมณ์ และรัตตา สุทธยาคม
สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยากาารหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร

          โรคผลเน่าของเงาะ (Nephelium lappaceum L.) สาเหตุจากการเข้าทำลายของเชื้อราหลายชนิด คือ เชื้อรา lasiodiplodia theobromae, Gliocephalotrichum bulbilium, Colletotrichum gloeosporioides, Pestalotiopsis sp. และ Phomopsis sp. เป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้คุณภาพของผลเงาะลดลง อายุการเก็บรักษาสั้น เพื่อลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการใช้สารปลอดภัยและจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคผลเน่าของเงาะและโรคแอนแทรคโนสของมะม่วงหลังการเก็บเกี่ยว โดยกาารทดสอบประสิทธิภาพของสาร 3 ชนิด คือ propyl paraben, optiphen และ salicylic acid ในการควบคุมโรคผลเน่าของเงาะที่ติดมาจากแปลงปลูก เก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 7 วัน พบว่า สาร optiphen ความเข้มข้น 10,000 mg/l และ 5,000 mg/l สามารถควบคุมโรคผลเน่าของเงาะได้ดี มีการเกิดโรค 38.89 และ 44.45 % ส่วนผลเงาะที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 13 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7 วัน ไม่แสดงอาการของโรค ผลยังคงสดอยู่ หลังจากเก็บรักษา 14 วัน พบว่า สาร optiphen ความเข้มข้น 5,000 mg/l และสาร propyl paraben ความเข้มข้น 500 mg/l สามารถควบคุมโรคผลเน่าของเงาะได้ 100 % และผลเงาะยังคงสดอยู่ จากการคัดเลือกแบคทีเรียปฏิปักษ์จากลำไยอบแห้งนำมาทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุมโรคผลเน่าของเงาะที่ติดมาจากแปลงปลูก เก็บรักษาผลเงาะที่อุณหภูมิเป็นเวลา 7 วัน พบว่า ผลเงาะที่จุ่มด้วยเซลล์แขวนลอยของเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ AS 24-1 มีการเกิดโรคต่ำที่สุด คือ 89.98 % ส่วนเงาะที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 13 องศาเซลาเซียส เป็นเวลา 7 วัน ไม่แสดงอาการของโรค ผลยังคงสดอยู่ หลังจากเก็บรักษา 14 วัน พบว่าผลเงาะที่จุ่มด้วยเซลล์แขวนลอยของเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ AS 24-1 และ DS 6-2 มีการเกิดโรคต่ำที่สุด คือ 50 % รองลงมาคือ CS 24-1 มีการเกิดโรค 56.67 % ส่วนโรคแอนแทรคโนสของมะม่วง (Mangifera indica L.) มีสาเหตุจากเชื้อรา C. gloeosporioides เมื่อนำสารกลุ่มปลอดภัยนี้มาควบคุมโรคแอนแทรคโนสของมะม่วงที่เกิดจากเชื้อรา C. gloeosporioides เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 7 วัน พบว่า การจุ่ม salicylic acid 1,000 mg/l มีความรุนแรงของโรคน้อยที่สุดคือ 6.35 % รองลงมาคือ salicylic acid 500 mg/l และ optiphen 1,000 mg/l มีความรุนแรงของโรค 15.16 และ 17.55 % ตามลำดับ ส่วนกรรมวิธีอื่นๆ ความรุนแรงของโรคใกล้เคียงกับกรรมวิธีควบคุม (น้ำ) และเมื่อนำเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์มาทดสอบความสามารถในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสบนผลมะม่วงที่เกิดจากการปลูกเชื้อรา C. gloeosporiodes พบว่า เชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ CS 24-1 EP 22-2 CF 31-1 และ CF 27-3 ให้ผลในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสของมะม่วงได้ดี มีความรุนแรงของโรค 6.85-8.46 % เมื่อเทียบกับกรรมวิธีควบคุม (น้ำ) มีความรุนแรงของโรค 15.25 %


ไฟล์แนบ
.pdf   1810_2553.pdf (ขนาด: 111.75 KB / ดาวน์โหลด: 429)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม