การใช้เทคโนโลยีการผลิตพริกถูกที่ วิธีถูกต้อง เพิ่มช่องทางการตลาด
#1
การใช้เทคโนโลยีการผลิตพริกถูกที่ วิธีถูกต้อง เพิ่มช่องทางการตลาด
พเยาว์ พรหมพันธุ์ใจ, นวลจันทร์ ศรีสมบัติ, ยุวลักษณ์ ผายดี, บุญชู สายธนู, นาตยา จันทร์ส่อง, โสภิตา สมคิด และนิรมล ดำพะธิก
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโนนสูง และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอำนาจเจริญ

          พริกฤดูแล้งในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร เพาะกล้าเดือนกรกฎาคม - กันยายน ปลูกในที่ดอน ดินร่วนปนทราย เดือนกันยายน - ตุลาคม ใช้น้ำใต้ดิน เก็บเกี่ยวเดือนพฤศจิกายน - พฤษภาคม ประสบปัญหาไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne incognita) จึงทดสอบเทคโนโลยีการแก้ปัญหาโรครากปม คือ การเตรียมกล้าที่ปราศจากตัวอ่อนของไส้เดือนฝอยรากปมพริก โดยการเผาแปลงเพาะกล้าด้วยแกลบดินหนา 10 เซนติเมตร นาน 8 ชั่วโมง การวางถาดเพาะกล้าให้สูงกว่าระดับผิวดินหรือเผาแปลงก่อนวางถาดเพาะชำด้วยแกลบดิบหนา 10 เซนติเมตร และการเตรียมแปลงปลูกด้วยการถอนต้นพริกออกนอกแปลงแล้วเผาทิ้ง จากนั้นหว่านปอเทืองอัตรา 5 กิโลกรัม/ไร่ ไถกลบปอเทืองเมื่อออกดอก (อายุ 45-50 วัน) ก่อนปลูกพริก 2 สัปดาห์ ร่วมกับการผลิตพริกแบบผสมผสานตั้งแต่การเตรียมเมล็ดพันธุ์ กาารใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ การป้องกันกำจัดศัตรูพริกแบบผสมผสานที่จังหวัดอุบลราชธานีในปี 2551-2552 พบว่า ผลผลิตพริกหัวเรือ ศก.13 สูงกว่าวิธีเกษตรกรร้อยละ 19.8 พบดัชนีการเกิดปมเพียง 0.8 พริกซุปเปอร์ฮอทในฤดูแล้งที่จังหวัดยโสธร ปี 2553 ให้ผลผลิตสูงกว่าวิธีเกษตรกรร้อยละ 37.2 ไม่พบปม การเพาะกล้าช่วงฤดูฝน (ก.ค.-ส.ค.) เสี่ยงต่อโรคต้นเน่าควรป้องกันฝนโดยการมุงหลังคาพลาสติกจะทำให้ลดโรคต้นเน่าได้และต้นแข็งแรง เมื่อนำไปปลูกจะเจริญเติบโตดีกว่ากล้ามาจากกลางแจ้งร้อยละ 27.5 ส่วนพริกฤดูฝนจังหวัดนครราชสีมา ปลูกในสภาพไร่ อาศัยน้ำฝน ดินร่วนเหนียว ประสบปัญหาโรคแอนแทรกโนส จึงทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพริกแบบผสมผสานปี 2551-2552 พริกให้ผลผลิตสูงกว่าวิธีเกษตรกรร้อยละ 24.8 สามารถลดโรคแอนแทรคโนสได้ร้อยละ 20 การแก้ปัญหาโรครากปมร่วมกับการผลิตพริกแบบผสมผสานลดการพ่นสารเคมีได้ 2 ครั้ง ได้ผลผลิตพริกปลอดภัยคือ ไม่พบสารพิษร้อยละ 73 พบสารพิษ <MRL ร้อยละ 27 วิธีเกษตรกรไม่พบสารพิษร้อยละ 67 พบสารพิษ <MRLs ร้อยละ 33 แสดงว่าเกษตรกรใช้สารเคมีได้ถูกต้องและพริกสดมีคุณภาพดีกว่าวิธีเกษตรกรร้อยละ 14 สามารถเชื่อมโยงกับตลาดพริกคุณภาพได้โดยผ่านผู้ประกอบการ (contract farming) กลุ่มเกษตรกรจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดนครราชสีมาสามารถส่งพริกสดไปยังต่างประเทศได้ 30 วัน และ 60 ตัน ในปี 2552-2553 ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   1801_2553.pdf (ขนาด: 280.29 KB / ดาวน์โหลด: 726)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม