วิจัยและพัฒนาสถานภาพพืชอาศัยและวิธีกำจัดแมลงด้วยความร้อนสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้
#1
วิจัยและพัฒนาสถานภาพการเป็นพืชอาศัยและวิธีกำจัดแมลงด้วยความร้อนสำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลลิ้นจี่เพื่อการส่งออก
รัชฎา อินทรกำแหง, สลักจิต พานคำ, ชัยณรัตน์ สนศิริ, มลนิภา ศรีมาตรภิรมย์, ชุติมา อ้อมกิ่ง, จารุวรรณ จันทรา และอุดร อุณหวุฒิ

          เลี้ยงเพิ่มปริมาณแมลงวันผลไม้ Oriental Fruit Fly, Bactrocera dorsalis (Hendel) จำนวนมากด้วยอาหารเทียมในห้องปฏิบัติการเพื่อนำไข่และหนอนของแมลงวันผลไม้ไปใช้ในการทดลอง สามารถเพิ่มปริมาณตัวเต็มวัยแมลงวันผลไม้ในจำนวนไม่ต่ำกว่า 50,000 ตัว การศึกษาสถานภาพการเป็นพืชอาศัยของแมลงวันผลไม้ของลิ้นจี่พบว่า ในสภาพห้องปฏิบัติการแมลงวันผลไม้สามารถวางไข่และฟักเป็นหนอนเจริญเติบโตรอดชีวิตในผลลิ้นจี่ ได้ศึกษาผลกระทบกรรมวิธีให้ความร้อนต่อคุณภาพผลลิ้นจี่พบว่า กรรมวิธีอบไอน้ำ (Vapor Heat Treatment) มีผลกระทบต่อคุณภาพลิ้นจี่น้อยกว่ากรรมวิธีอบไอน้ำปรับความชื้นสัมพัทธ์ (Modified Vapor Heat Treatment)

          การศึกษาความทนทานต่อความร้อนของแมลงวันผลไม้ระยะไข่, หนอนวัย 1, 2 และ 3 ในผลลิ้นจี่ด้วยวิธีการอบไอน้ำ (Vapor Heat Treatment) ที่อุณหภูมิ 46 องศา เป็นเวลานาน 0, 10, 20, 30, 40, 45, 50, 55 และ 60 นาที ผลการทดลองพบว่า ไข่และหนอนวัย 1 มีแนวโน้มที่จะทนทานต่อความร้อนมากที่สุด


ไฟล์แนบ
.pdf   1649_2553.pdf (ขนาด: 119.6 KB / ดาวน์โหลด: 977)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม