วิจัยสูตรผลิตภัณฑ์สารสกัดหนอนตายหยากและว่านน้ำเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืช
#1
วิจัยสูตรผลิตภัณฑ์สารสกัดหนอนตายหยากและว่านน้ำเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืช
รัตนาภรณ์ พรหมศรัทธา, เสริม สีมา, สมบัติ แผนดี, อิสริยะ สืบพันธุ์ดี และอุดมลักษณ์ อุ่นจิตต์วรรธนะ
กลุ่มวิจัยวัตถุมีพิษการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

          หนอนตายหยาก (Stemona spp.) และว่านน้ำ เป็นพืชที่มีศักยภาพในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ในรากหนอนตายหยากมีสารสำคัญพวกอัลคาลอยด์ (alkaloids) เก็บตัวอย่างรากหนอนตายหยากจากจังหวัดต่างๆ มาตรวจหาปริมาณอัลคาลอยด์ทั้งหมด (Total alkaloids) พบว่า มีปริมาณอยู่ระหว่าง 1.16 - 6.60% สกัดรากหนอนตายหยาก Stemona burkillii Prain และ Stemona phyllantha Gagnep ด้วยเอทานอล นำสารสกัดหยาบที่ได้มาสกัดแยกส่วนโดยใช้ hexane, dichloromethane และ ethyl acetate ตรวจ alkaloids ในส่วนที่แยก พบว่าอยู่ในส่วนของ dichloromethane ในส่วนของ hexane พบว่า มีกรดไขมันอิ่มตัว (C 16:0, C 18:0) และไม่อิ่มตัว (C 18:1, C 18:2, C 18:3) รวมทั้ง 4-methoxy benzoic acid, methyl ester ส่วนของ dichloromethane จาก S. burkillii Prain มี total alkaloids 20.01%  S. phyllantha Gagnep มี Total alkaloids 8.09% non-alkaloid 27.40% ทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบกับหนอนใยผักวัยสอง พบว่าสารสกัดหยาบของ S. burkillii และ S. phyllantha เข้มข้น 1% ทำให้หนอนตาย 76.7 และ 36% ในเวลา 3 วัน และในส่วนของ dichloromethane เข้มข้น 1% ทำให้หนอนตาย 93.3 และ 53% ผลิตภัณฑ์จาก S. burkillii อัตรา 5 และ 10 มิลลิลิตรต่อเอทานอล 100 มิลลิลิตร ทำให้หนอนตาย 80 และ 100% ใน 3 วันสกัดน้ำมันหอมระเหยจากเหง้าว่านน้ำด้วยวิธี hydrodistillation พบว่ามีน้ำมันหอมระเหย 1.35% ซึ่งมีปริมาณสารสำคัญ เบต้า อาซาโรน 85.10% สกัดเหง้าแห้งด้วยเมทานอลและเอทานอลได้สารสกัดหยาบ 31.78 และ 8.73% มีเบต้าอาซาโรน 8.43 และ 22.86% น้ำมันว่านน้ำ 1.0% และสารสกัดหยาบจากเอทานอล 2.5% ทำให้หนอนใยผักวัยสองตาย 100% ใน 48 ชั่วโมง


ไฟล์แนบ
.pdf   1919_2553.pdf (ขนาด: 1.14 MB / ดาวน์โหลด: 2,224)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม