การใช้สูตรผสมของ B. thuringiensis ร่วมกับไวรัส SeNPV และ SlNPV รูปสารแขวนลอยเข้มข้น
#1
การใช้สูตรผสมของ Bacillus thuringiensis ร่วมกับไวรัส SeNPV และ SlNPV รูปสารแขวนลอยเข้มข้น เพื่อควบคุมหนอนผีเสื้อศัตรูหน่อไม้ฝรั่ง
อิศเรส เทียนทัด, อัจฉรา ตันติโชดก, ภัทรพร สรรพนุเคราะห์ และสมชัย สุวงศ์ศักดิ์ศรี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ดำเนินการทดสอบประสิทธิภาพการใช้สูตรผสมของ Bt และไวรัส NPV ในอัตราส่วนต่าง ๆ กัน โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ มี 5 กรรมวิธี คือ เชื้อ Bacillus thuringiensis subsp. kurstaki (Bactospeine ) ผสมกับไวรัส SeNPV และไวรัส SlNPV ในอัตราส่วน 4:1:2, 4:2:1 และ 3:3:1 ที่อัตรา 60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร เปรียบเทียบกับ B. thuringiensis (Bactospeine) อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีไม่พ่นสาร จากการสำรวจการระบาดของแมลงพบว่า มีแต่การระบาดของหนอนกระทู้หอมเพียงชนิดเดียว มีปริมาณหนอนกระทู้ผักน้อยมาก จากการตรวจนับจำนวนแมลงก่อนพ่นสารพบหนอนกระทู้หอม 17, 23, 20, 19 และ 14 ตัว ตามลำดับ หลังการพ่นครั้งที่ 1 พบหนอนกระทู้หอม 35, 45, 61, 37 และ 71 ตัว ตามลำดับ หลังการพ่นครั้งที่ 2 พบหนอนกระทู้หอม 91, 61, 56, 58 และ 89 ตัว ตามลำดับ หลังการพ่นครั้งที่ 3 พบหนอนกระทู้หอม 31, 12, 33, 46 และ 35 ตัว ตามลำดับ หลังการพ่นครั้งที่ 4 พบหนอนกระทู้หอม 16, 10, 12, 10 และ 28 ตัว ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบน้ำหนักผลผลิตหน่อไม้ฝรั่งพบว่า น้ำหนักผลผลิตหน่อไม้ฝรั่งรวม (Total yield) ของทุกวิธีการพ่นสารมีความแตกต่างกันทางสถิติกับวิธีการไม่พ่นสาร โดยได้ผลผลิต 131.60, 138.80, 133.50, 123.80 และ 88.60 กิโลกรัม ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบน้ำหนักผลผลิตหน่อไม้ฝรั่งที่คัดคุณภาพสามารถจำหน่ายได้ (Marketable yield) พบว่า น้ำหนักผลผลิตหน่อไม้ฝรั่งในทุกวิธีการพ่นสารไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติแต่แตกต่างกันทางสถิติกับน้ำหนักผลผลิตในวิธีการไม่พ่นสารโดยได้ผลผลิต 98.90, 105.20, 100.70, 91.20 และ 70.85 กิโลกรัม ตามลำดับ

          จากการทดสอบประสิทธิภาพการใช้สูตรผสมของ Bt และไวรัส NPV อัตราส่วน 4:2:1 ที่อัตราการใช้ต่าง ๆ โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ มี 6 กรรมวิธี คือ ที่อัตรา 60, 80, 100 และ 120 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร เปรียบเทียบกับ B. thuringiensis (Bactospeine) อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีไม่พ่นสาร จากการตรวจนับจำนวนแมลงก่อนพ่นสารพบหนอนกระทู้หอม 65, 64, 71, 70, 68 และ 72 ตัว ตามลำดับ หลังการพ่นครั้งที่ 1 พบหนอนกระทู้หอม 50, 63, 54, 41, 38 และ 78 ตัว ตามลำดับ หลังการพ่นครั้งที่ 2 พบหนอนกระทู้หอม 24, 27, 21, 23, 31 และ 52 ตัว ตามลำดับ หลังการพ่นครั้งที่ 3 พบหนอนกระทู้หอม 39, 33, 27, 20, 29 และ 44 ตัว ตามลำดับ หลังการพ่นครั้งที่ 4 พบหนอนกระทู้หอม 11, 8, 10, 6, 13 และ 36 ตัว ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   1623_2553.pdf (ขนาด: 106.09 KB / ดาวน์โหลด: 647)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม