ศึกษา พัฒนาหลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบพันธุ์พืชใหม่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช
#1
ศึกษา พัฒนาหลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบพันธุ์พืชใหม่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542
จิระศักดิ์ กีรติคุณากร, ชุติมา รัตนเสถียร, เบญจวรรณ จำรูญพงษ์, ธิดากุญ แสนอุดม, วาสนา มั่งคั่ง, รุ่งทิวา ธนำธาตุ, ป่าน ปานขาว, วราภรณ์ ทองพันธ์, พรเทพ ท้วมสมบุญ และนัฐวุฒิ กฤษสมัคร 
กองคุ้มครองพันพืช

          วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เพื่อศึกษา พัฒนาหลักเกณฑ์ และวิธีตรวจสอบพันธุ์พืชที่ขอรับความคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ตามพระราชบัญญัติคุมครองพันธุืพืช พ.ศ. 2542 โดยกำหนดขอบเขตงานวิจัยไว้ 21 ชนิด พืชที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศกำหนดเป็นพันธุ์พืชใหม่ที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายดังกล่าว ได้แก่ ส้มเขียวหวาน (Citrus reticulata Blanco และลูกผสม) น้อยหน่า (Annona sqamosa L. และลูกผสม) มะขาม เงาะ กล้วยไม้ สกุลแวนด้าและลูกผสม (Vanda spp.) บัว ไม้ดอกสกุลหน้าวัว (Anthurium spp.) มะนาวไทย (Citrus aurantifolia (Christm.) Swingle และลูกผสม) ยูคาลิปตัส ยางพารา (Hevea brasiliensis (Willd ex A. Juss.) Mull-arg.) บอนสี (Caladium bicolor Vent.) มะเฟือง (Averrhoa carambolo L.) ชวนชม (Adenium spp.) ลั่นทม (Plumeria spp.) พืชกลุ่มเปราะบาง (Bouea spp.) แก้วกาญจนา (Aglaonema spp.) ฝรั่ง (Psidium spp.) สัก (Tectona grandiis L.f.) กระถินณรงค์ (Acacia auriculaeformis A. Cunn.ex Benth) แตงเทศผิวเรียบและแตงเทสลายนูนและลูกผสม (Cucumis melo L.cv. Cantaloupensis and C.melo L.cv. Reticulatus) และขนุน (Artocarpus heterophyllus Lam.) ได้ทำการสังเคราะห์หลักเกณฑ์และวิธีตรวจสอบพันธุ์พืชใหม่ (DUS Test and Test Guideline (TG) for New Plant varieties) ของพืช 21 ชนิด ขึ้นมาตามแนวทางของอนุสัญญายูพอฟ ภายใต้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดทำและพัฒนาหลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบพันธุ์พืชใหม่ (TG/1/3) และคำแนะนำในการพัฒนาวิธีการบันทึกลักษณะให้เป็นแบบฟอร์มมาตรฐานในการตรวจสอบพันธุ์พืชใหม่ (TG Template, in TGP/7/1) ซึ่งมีองค์ประกอบในเรื่องของการเตรียมการปลูกทดสอบ วิธีการตรวจสอบ ประเมินผล ตารางรายการบันทึกลักษณะตามแบบฟอร์มมาตรฐานพร้อมภาพวาดลายเส้น และคำอธิบายประกอบ การตรวจสอบพันธุ์พืชใหม่ของพืชทั้ง 21 ชนิด ต่อมาได้พัฒนาให้เป็นที่ยอมรับได้ในระดับประเทศด้วยการระดมสมองแบบมีส่วนร่วมจากบุคคลหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งนำไปทดลองใช้ตามสถานที่ต่างๆ เช่น แปลงรวบรวมและแหล่งปลูกทั่วไป เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้ชัดเจนเกี่ยวกับเครื่องหมาย และสัญลักษณ์ ในรายการบันทึกลักษณะแบบฟอร์มมาตรฐาน พร้อมระบุพันธุ์อ้างอิงซึ่งผลการทดลองยังได้ฐานข้อมูลพันธุ์อ้างอิงสำหรับการตรวจสอบพันธุ์พืชใหม่ที่ยื่นขอจดทะเบียนด้วย ผลสำเร็จจากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ได้นำไปกำหนดเป็นกฎระเบียบอันเป็นแนวปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบพันธุ์พืชใหม่ใน 21 ชนิดพืช ประกอบด้วย ระเบียบกรมวิชาการเกษตรว่าด้วย การตรวจสอบลักษณะของพันธุ์พืชที่ขอจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ (จำนวน 5 ฉบับ) สำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ใช้ปฏิบัติงานในการรับจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ และประกาศกรมวิชาการ เรื่อง แบบคำขอและการเตรียมการเพื่อตรวจสอบพันธุ์พืชที่ขอจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ (จำนวน 5 ฉบับ) สำหรับผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ปฏิบัติ ซึ่งกฎระเบียบทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวครอบคลุมพืชจำนวน 18 ชนิด ส่วนอีก 3 ชนิดพืชนั้นยังอยู่ระหว่างการเตรียมที่จะออกประกาศเป็นระเบียบกรมวิชาการเกษตร และประกาศกรมวิชาการเกษตรต่อไป อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ปรากฏว่ามีผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่แล้วจำนวน 10 ชนิดพืช ได้แก่ ส้มเขียวหวาน มะขาม กล้วยไม้สกุลแวนด้าและลูกผสม บัว ฝรั่ง มะนาวไทย ยูคาลิปตัส ชวนชม ขนุน และพืชกลุ่มมะปราง


ไฟล์แนบ
.pdf   1846_2553.pdf (ขนาด: 112.96 KB / ดาวน์โหลด: 560)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม