ประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงประเภทดูดซึมในการป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่นพาหะโรคใบขาวอ้อย
#1
ประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงประเภทดูดซึมในการป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่นพาหะโรคใบขาวอ้อย
อรทัย วรสุทธิ์พิศาล, อรทัย วรสุทธิ์พิศาล, นิลุบล ทวีกุล, สุนี ศรีสิงห์ และชยันต์ ภักดีไทย
สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน

          การป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่นพาหะโรคใบขาวอ้อย เพื่อให้ได้ข้อมูลสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่น ดำเนินการทดลองที่แปลงเกษตรกร ต. เขวาไร่ อ. โกสุมพิสัย จ. มหาสารคาม ระหว่างเดือนตุลาคม 2555 ถึงเดือนกันยายน ๒๕๕๗ โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB มี ๔ ซ้ำ ๖ กรรมวิธี คือ พ่นสารฆ่าแมลงไดโนทีฟูเรน 10% WP อัตรา 10 กรัม/น้ำ 20 พ่นสารฆ่าแมลงอิมิดาคลอพริด 70% WG อัตรา 4 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นสารฆ่าแมลงไทอะมีโทแซม 25% WG อัตรา ๔ กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นสารฆ่าแมลงคลอไทอะนิดิน 16% WG อัตรา ๖ กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นสารฆ่าแมลงคาร์โบซัลแฟน 20% EC อัตรา ๘๐ มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร  เปรียบเทียบกับกรรมวิธีที่ไม่พ่นสารฆ่าแมลง ในปี ๒๕๕๕ พบว่าการพ่นสารฆ่าแมลงหลังปลูกอ้อยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ๑ เดือน สารคาร์โบซัลแฟน 20% EC อัตรา ๘๐ มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร เป็นเวลา ๕ วัน มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการเป็นสารป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่น พบเพลี้ยจักจั่นลดลงเหลือ ๔.50 ตัว/กับดัก ซึ่งน้อยกว่าการไม่พ่นสารฆ่าแมลงที่พบเพลี้ยจักจั่น ๑๔.๐๐ ตัว/กับดัก แต่ไม่พบสารใดมีประสิทธิภาพในการเป็นสารป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่นหลังการพ่นสารฆ่าแมลงหลังปลูกอ้อยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 2-๔ เดือน และไม่พบการระบาดของโรคใบขาวอ้อยในแปลงทดลอง

          ในปี ๒๕๕๖ จากการพ่นสารฆ่าแมลงทั้งหมด 5 ครั้ง พบว่า สารฆ่าแมลงอิมิดาคลอพริด 70% WG อัตรา 4 กรัม/น้ำ 20 ลิตร วัน มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการเป็นสารป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่น ก่อนพ่นสารฆ่าแมลง ครั้งที่ 1, 2,  4 และครั้งที่ 5  มีจำนวนเพลี้ยจักจั่น 11.75, 21, 31 และ 20.25 ตัว/กับดัก ตามลำดับ หลังจากพ่นสารฆ่าแมลงอิมิดาคลอพริด 70% WG อัตรา 4 กรัม/น้ำ 20 ลิตร เป็นเวลา 3 วัน จำนวนเพลี้ยจักจั่นลดลง เหลือ 0, 0, 0.25 และ 0.50 ตัว ตามลำดับ ซึ่งน้อยกว่า การไม่พ่นสารฆ่าแมลงที่พบเพลี้ยจักจั่น 13.50, 22.50, 49.00 และ 10.00 ตัว/กับดัก ตามลำดับ ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่นครั้งที่ 3 พบว่าสารฆ่าแมลงไดโนทีฟูเรน 10% WP อัตรา 10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการเป็นสารป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่นครั้งที่ 3 ก่อนพ่นสารฆ่าแมลงมีจำนวนเพลี้ยจักจั่น 11.75 ตัว/กับดัก หลังจากพ่นสารฆ่าแมลงไดโนทีฟูเรน 10% WP อัตรา 10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร เป็นเวลา 1 วัน พบเพลี้ยจักจั่นลดลงเหลือ 0.50 ตัว/กับดัก ซึ่งน้อยกว่าการไม่พ่นสารฆ่าแมลงที่พบเพลี้ยจักจั่น 31.25 ตัว/กับดัก


ไฟล์แนบ
.pdf   23_2557.pdf (ขนาด: 225.18 KB / ดาวน์โหลด: 1,152)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม