ทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการควบคุมโรคใบขาวอ้อยจังหวัดมุกดาหาร
#1
การทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการควบคุมโรคใบขาวอ้อยจังหวัดมุกดาหาร
บุญอุ้ม  แคล้วโยธา, ประหยัด  ยุพิน และบุญญาภา ศรีหาตา 
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมุกดาหาร

          การทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการควบคุม โรคใบขาวอ้อยจังหวัดมุกดาหาร เริ่มการทดลองครั้งนี้เมื่อปี พ.ศ. 2555 ถึง ปี พ.ศ. 2557   ในไร่เกษตรกร จำนวน 6 รายในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร โดยวิธีทดสอบปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ระยะปลูก 1.3 เมตร การใส่ปุ๋ยเคมีในกรรมวิธีทดสอบคือ 16-1-14 อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3  และวิธีเกษตรกรคือใส่ปุ๋ย 16-16-16 อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ ปลูกอ้อยขอนแก่น 3 อู่ทอง 5 และพันธุ์เค 95-84 ในการทดสอบครั้งนี้เพื่อให้ได้ชุดเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการควบคุมโรคใบขาวอ้อยในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร

          ผลการทดสอบพบว่าในปี 2555 ผลผลิตอ้อยที่ได้ในวิธีทดสอบทั้ง 3 แปลง อยู่ในช่วง  8.1 - 15 ตันต่อไร่ มีค่าบริกซ์ 18.2 - 20.51  วิธีของเกษตรกร ให้ผลผลิต 7.4 - 15 ตันต่อไร่ มีค่าบริกซ์ 20 - 20.15  และพันธุ์อู่ทอง 5 ให้ผลผลิต 17 ตันต่อไร่ และมีค่าบริกซ์ 18.6   ปี 2556 ผลผลิตอ้อย ในวิธีทดสอบอยู่ในช่วง 15.16 - 20.8 ตันต่อไร่ มีค่าบริกซ์อยู่ในช่วง 17 - 19.6 วิธีเกษตรกรปลูกอ้อยขอนแก่น 3 ให้ผลผลิต 19.4 - 21.63 ตันต่อไร่ มีค่าบริกซ์ 16.4 - 17.6  และอ้อยพันธุ์ เค95-84  ให้ผลผลิต 16.54 ตันต่อไร่  มีค่าบริกซ์ 19.8   และในปี 2557 ผลผลิตอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ในกรรมวิธีทดสอบอยู่ในช่วง 12.85 - 16.6 ตันต่อไร่ มีค่าบริกซ์ 18 - 23.5 วิธีเกษตรกรให้ผลผลิตอยู่ในช่วง 12.9 – 14.5 ตันต่อไร่ มีค่าบริกซ์อยู่ในช่วง 18.1 - 24  ทั้ง 3 ปี ไม่พบอาการของโรคใบขาวในอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3  พันธุ์อู่ทอง 5 และพันธุ์เค 95-84 


ไฟล์แนบ
.pdf   24_2557.pdf (ขนาด: 495.63 KB / ดาวน์โหลด: 1,705)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม