คลังเอกสารความรู้

เวอร์ชั่นเต็ม: เทคโนโลยีการผลิตบัวหลวง
          บัว เป็นราชินีแห่งไม้น้ำ จัดเป็นพันธุ์ไม้น้ำที่เป็นสัญลักษณ์ของคุณงามความดี ความบริสุทธิ์ เป็นดอกไม้ที่อยู่คู่สังคมไทยมาช้านาน นอกจากความสวยงามของดอกบัวที่มีหลากหลายสีแล้ว บัวยังมีคุณประโยชน์อีกมาก เช่น มีคุณค่าทางอาหารและใช้เป็นยาบำรุงร่างกายได้ สำหรับบัวหลวง (Lotus) มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า ปทุมชาติ บุณฑริก ปุณฑริก ปทุม ปัทมา โกกระณต สัตตบุษย์ บัวฉัตรขาว สัตตบงกช บัวฉัตรชมพู  หรือบัวอุบล บัวหลวงเป็นไม้น้ำและไม้ล้มลุกหลายฤดู มีถิ่นกำเนิดแถบเอเชีย อยู่ในสกุลเนลุมโบ (Nelumbo) วงศ์ Nymphaeaceae มีลำต้นใต้ดินแบบเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน ฝังตัวอยู่ในโคลนเลน ใบเป็นใบเดี่ยวมีลักษณะกลมใหญ่สีเขียวอมเทา ใบอ่อนลอยปิ่มน้ำ ส่วนใบแก่จะชูพ้นน้ำ กำนใบแข็ง มีหนามเล็กๆ เมื่อหักเป็นสายใยและมีน้ำยางขาว ดอกเป็นดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ มีหลายรูปทรงและมีหลายสี เช่น สีขาว สีชมพู แล้วแต่พันธุ์ กำนดอกแข็ง ชูเหนือน้ำ ผล รูปกลมรีเขียวนวล ส่วนใหญ่ฝังอยู่ในส่วนที่เป็นรูปกรวย เมื่ออ่อนมีสีเหลือง รูปกรวยนี เมื่อเป็นผลแก่จะขยายใหญ่ขึ้นมีสีเทาเอมเขียว เรียกว่า ฝักบัว มีผลสีเขียวฝังอยู่เป็นจำนวนมาก คนไทยนิยมใช้ดอกบัวหลวงในการบูชาพระ ประดับตกแต่งสถานที่ เกสรบัวหลวงใช้ทำบุหงา
สกัดเป็นน้ำมันบัว หรือทำพิมเสน กลีบดอกนำมาทำชากลีบบัวและอาหารคาว เช่น เมี่ยงคำ เมล็ดบัวสดใช้บริโภค เมล็ดบัวแห้งใช้ทำแป้งเพื่อทำขนมหวาน ใบบัวน้ามาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำข้าวห่อใบบัว ใช้ประดับตกแต่ง และทำชาใบบัว ไหลบัวนิยมใช้ในการทำอาหารคาว ส่วนรากบัวซึ่งเป็นส่วนสะสมอาหาร มีคุณค่าทางโภชนาการสูงใช้ทำขนมหวานหรือทำน้ำรากบัว