โครงการความร่วมมือ
เป็นโครงการวิจัยภายใต้โครงการ PAN ASIA Project ซึ่งหน่วยงานผู้ให้ทุน ได้แก่ Asian Food and Agriculture Cooperation Initiative (AFACI) โดยหน่วยงาน RDA ของสาธารณรัฐเกาหลีใต้เป็นผู้ให้ทุน โดยประเทศสมาชิกเข้าร่วมดำเนินการในระดับภูมิภาค 14 ประเทศ ได้แก่ บังคลาเทศ ลาว อินโดนีเซีย กัมพูชา เนปาล ศรีลังกา มองโกเลีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม เคอร์กิสฐาน พม่า ภูฏาน ไทย และเกาหลีใต้
ความร่วมมือแบ่งเป็น 2 ระยะ (Phase) ได้แก่ระยะแรก ปี 2555-2557 เน้นการสำรวจรวบรวมเชื้อพันธุกรรมพืชพื้นเมืองวงศ์แตง และวงศ์พริก – มะเขือ ที่มีการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย และระยะที่ 2 ปี 2558-2560 เป็นการสำรวจรวบรวมและประเมินเชื้อพันธุกรรมพืชพื้นเมืองได้แก่ พริก มะเขือ และมะเขือเทศ ในประเทศไทย

สืบเนื่องจากความร่วมมือโครงการ IMPGR ได้มีการประสานเพื่อฝากเก็บเมล็ดพันธุกรรมพืชในสภาพ Black-box ที่ RDA Genebank Korea เพื่อเป็นเชื้อพันธุ์สำรองของธนาคารเชื้อพันธุ์พืช โดยเฉพาะพันธุ์พืชที่รับรองว่าเป็นพันธุ์รับรองและพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร จำนวน 13 ชนิด 53 ตัวอย่างพันธุ์ ร่วมกับ ศวร.ชัยนาท ได้จัดส่งเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวผิวมันและผิวดำอย่างละ 100 ตัวอย่างพันธุ์ รวมทั้งสิ้น 253 ตัวอย่างพันธุ์ โดยกรมวิชาการเกษตร นำโดย รองอธิบดี (ดร.สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ) และ นายอลงกรณ์ กรณ์ทอง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้ดำเนินการส่งเมล็ดดังกล่าวระหว่างวันที่ 10 – 14 มีนาคม 2557 ณ สาธารณรัฐเกาหลี

เป็นการดำเนินงานในหัวข้อ “Micropropagation of Native Orchid Species, Vanda coerulea and Paphiopedilum concolor” โดยศึกษาการขยายพันธุ์กล้วยไม้พื้นเมืองสองชนิดคือ กล้วยไม้ฟ้ามุ่ยและกล้วยไม้รองเท้ารี
– กล้วยไม้ฟ้ามุ่ยดำเนินการโดยนักวิชาการเกษตรของสถาบันวิจัยพืชสวน
– กล้วยไม้รองเท้านารีดำเนินการโดยนักวิชาการเกษตรของสำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ และเนื่องจากกล้วยไม้รองเท้านารีของประเทศไทยมีจำนวนหลายชนิด บางชนิดมีปริมาณน้อยและหายาก บางชนิดมีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดทำให้ได้ต้นในปริมาณมากเพียงพอต่อการใช้ในการศึกษาทดลอง การศึกษาครั้งนี้ได้เลือกกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองปราจีน ซึ่งหาซื้อได้ไม่ยากนักและมีราคาไม่แพงมาก
กรอบความร่วมมือนี้ดำเนินการ 2 โครงการ ได้แก่
- โครงการจัดการระบบข้อมูลเชื้อพันธุกรรมพืชในธนาคารเชื้อพันธุ์พืชสำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพกรมวิชาการเกษตร ปี 2558
โดยสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สป.กษ) ได้จัดสรรงบประมาณโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ ปี 2558 แผนงานส่งเสริมประสิทธภาพการผลิตการเกษตรด้านต่างประเทศได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนโครงการจัดการระบบข้อมูลเชื้อพันธุกรรมพืชในธนาคารเชื้อพันธุ์พืช รวมเป็น 400,000 บาท มีการแลกเปลี่ยนนักวิจัยระหว่างไทย-สวีเดน โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ NordGen หรือ Nordic Genetic Resource Center เป็นองค์กรที่ดำเนินการเกี่ยวกับพันธุกรรมพืชและสัตว์ที่สำคัญของกลุ่มประเทศนอร์ดิก (Nordic Countries) ซึ่งประกอบด้วย สวีเดน นอร์เวย์ ฟินแลนด์ เดนมาร์ก และไอซ์แลนด์ โดยเฉพาะพันธุกรรมพืช มีการอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมพืช ณ ปัจจุบันมากกว่า 77,000 ตัวอย่าง แบ่งออกเป็นการเก็บรักษาในรูปแบบ Active Collection (-18๐C) การเก็บรักษาในรูปแบบ Base Collection (-18๐C) และการเก็บรักษา ณ Svalbard Global Seed Vault (-18๐C) และหน่วยงานของไทยที่เกี่ยวข้อง คือ ธนาคารเชื้อพันธุ์ กรมวิชาการเกษตร สังกัดกลุ่มวิจัยพัฒนาธนาคารเชื้อพันธุ์พืชและจุลินทรีย์ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ การดำเนินการแบ่งเป็น 2 ระยะ
ระยะที่ 1 เชิญผู้เชี่ยวชาญจำนวน 2 ท่านได้แก่ Prof. Dr.Roland Von Bothmer ที่ปรึกษาของ Svalbard World Seed Vault และ Mr.Jonas Nordling ผู้จัดการด้านฐานข้อมูลมาดูงานที่ธนาคารเชื้อพันธุ์พืช และร่วมบรรยายในหัวข้อระบบการจัดการฐานข้อทูลทรัพยากรพันธุกรรมพืชของ NordGen ในบริบทนานาชาติ ในการสัมมนาเรื่อง การจัดการฐานข้อมูลเชื้อพันธุกรรมพืชในธนาคารเชื้อพันธุ์พืช อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ระหว่างวันที่ 19-20 มกราคม 2558 ณ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี อาคารทรัพยากรพันธุกรรมพืชสิรินธร จ.ปทุมธานี และเดินไปทัศนศึกษาดูงานด้านฐานข้อมูลและงานด้านอนุรักษ์พันธุกรรมพืชตามหน่วยงานต่างๆ เป็นหน่วยงานในสังกัดกรมวิชาการเกษตร โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา NECTEC AVRDC เป็นต้น ในช่วงระหว่างวันที่ 18-25 มกราคม 2558 ณ จ.นครปฐม สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปทุมธานี และ กทม.

ระยะที่ 2 แลกเปลี่ยนนักวิจัยไทยไปศึกษาดูงาน ณ NordGen ราชอาณาจักรสวีเดน ในเดือน สิงหาคม 2558 โดยผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยพัฒนาธนาคารเชื้อพันธุ์พืช (นางกัญญาภรณ์ พิพิธแสงจันทร์) เข้าร่วมบรรยายในหัวข้อ Current Status of Plant Genetic Resources Conservation of Thailand : The Role of DOA Genebank พร้อมนักวิจัยอีก 2 ท่าน ได้แก่ นางสาวอัสนี ส่งเสริม และนางสาวพัชร ปิริยะวินิตร


2. โครงการการจัดการธนาคารเชื้อพันธุกรรมพืช เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร ปี 2559
– ระยะที่ 1 เชิญผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสวีเดนจำนวน 2 ท่าน ได้แก่ Dr. Árni Bragason ผู้อำนวยการ NordGen และ Mr. Kjell-Åke Lundblad ผู้จัดการด้านเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร NordGen มาบรรยายเกี่ยวกับการจัดการธนาคารเชื้อพันธุ์พืช ณ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี อาคารทรัพยากรพันธุกรรมพืชสิรินธร จ.ปทุมธานี และเดินไปทัศนศึกษาดูงานด้านฐานข้อมูลและงานด้านอนุรักษ์พันธุกรรมพืชตามหน่วยงานต่างๆ เป็นหน่วยงานในสังกัดกรมวิชาการเกษตร ในเดือน โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา NECTEC เป็นต้น ในช่วงระหว่างวันที่ 14-19 มีนาคม 2559

– แลกเปลี่ยนนักวิจัยไทยไปศึกษาดูงาน ณ NordGen ราชอาณาจักรสวีเดน ในเดือน พฤษภาคม 2559 โดยผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยพัฒนาธนาคารเชื้อพันธุ์พืช (นางกัญญาภรณ์ พิพิธแสงจันทร์) เข้าร่วมบรรยายในหัวข้อ Genebank Management and Use of Genebank Work in Thailand พร้อมนักวิจัยอีก 1 ท่าน ได้แก่ นางสาวเสาวณี เดชะคำภู และไปดูงาน Svalbard Global Seed Vault ที่ประเทศนอร์เวย์

สืบเนื่องจากความร่วมมือไทย-สวีเดน ได้มีการเชื่อมความสัมพันธ์ ระหว่างกรมวิชาการเกษตร ประเทศไทย และ Svalbard Global Seed Vault (SGSV) ประเทศนอร์เวย์ นำโดย อธิบดี (ดร.สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ) และ คณะ ได้แก่ นายดนัย นาคประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ, นางกัญญาภรณ์ พิพิธแสงจันทร์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยพัฒนาธนาคารเชื้อพันธุ์พีชและจุลินทรีย์ และ นางจินตวี ไทยงาม ผู้อำนวยการกลุ่มเกษตรต่างประเทศ เข้าร่วมงาน the 10-year anniversary celebration of SGSV และปรึกษาหารือเกี่ยวกับข้อตกลงการฝากเมล็ดพันธุ์ที่ SGSV ในช่วงระหว่างวันที่ 26-27 กุมภาพันธ์ 2561

ทั้งนี้ได้มีการประสานเพื่อฝากเก็บเมล็ดพันธุกรรมพืชในสภาพ Black-box ที่ Svalbard Global Seed Vault (SGSV) ประเทศนอร์เวย์ เพื่อเป็นเชื้อพันธุ์สำรองของธนาคารเชื้อพันธุ์พืช โดยเฉพาะพันธุ์พืชที่รับรองว่าเป็นพันธุ์รับรองและพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร จำนวน 12 ชนิด 32 ตัวอย่างพันธุ์ โดยดำเนินการส่งเมล็ดฝากเมล็ดระหว่างวันที่ 6-12 สิงหาคม 2561 ณ ประเทศนอร์เวย์

กรอบความร่วมมือนี้ดำเนินการ 2 โครงการ ได้แก่
1. โครงการ Collaboration for Achievement and Development of Genebank Management through Consulting and Scientist Exchange between DOA Genebank, Thailand and NIAS Genebank (NARO), Japan อยู่ในกรอบ 6th The Thailand-Japan on Agriculture, Forestry and Fisheries โดยของบประมาณ
จากกรมวิชาการเกษตร ดำเนินการแบ่งเป็น 2 ระยะ
ระยะที่ 1 แลกเปลี่ยนนักวิจัยไทยไปศึกษาดูงาน ณ NARO Genebank ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 20-26 กุมภาพันธ์ 2560 โดยผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ (นายดนัย นาคประเสริฐ) และกลุ่มวิจัยพัฒนาธนาคารเชื้อพันธุ์พืช (นางกัญญาภรณ์ พิพิธแสงจันทร์) เข้าร่วมดูงานดังกล่าว


ระยะที่ 2 เชิญผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่นจำนวน 2 ท่าน ได้แก่ Dr. Hiroshi Nemoto ผู้อำนวยการของ Genetic Resources Center (Gene Bank), NARO และ Dr. Daisuke Tanaka นักวิจัยของ Genetic Resources Center (Gene Bank), NARO เข้าร่วมบรรยายในการสัมมนาเรื่อง “เทคโนโลยีการอนุรักษ์เชื้อพันธุ์พืชของธนาคารเชื้อพันธุ์พืช เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ” ในวันอังคารที่ 22 สิงหาคม 2560 ณ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ จ.ปทุมธานี และมาเยี่ยมชม ให้คำแนะนำเกี่ยวกับงานด้านการจัดการเชื้อพันธุ์พืชด้วยระบบอัตโนมัติ และการอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมพืช ซึ่งธนาคารเชื้อพันธุ์พืชจะได้รับประโยชน์ในการนำความรู้มาพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขให้เป็นมาตรฐานสากล ระหว่างวันที่ 21 – 25 สิงหาคม 2560 จ. สมุทรสงคราม, ราชบุรี, ปทุมธานีและ กรุงเทพฯ

2. โครงการ Collaboration of Scientists Exchange between DOA Genebank, Thailand and Genetic Resources Center, NARO, Japan in training plant conservation of Genebank อยู่ในกรอบ 8th The Thailand-Japan on Agriculture, Forestry and Fisheries โดยของบประมาณ
จากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์กรมหาชน) หรือ สวก. การดำเนินการโดยส่งนักวิจัยจำนวน 2 คน ได้แก่ นางสาวพัฒน์นรี รักษ์คิด, นักวิชาการเกษตรชำนาญการ และนางสาวสุกัลยา ศิริฟองนุกูล, นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ไปอบรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมพืช ณ NARO Genebank และ Toyko University ประเทศญี่ปุ่น มีกำหนดการอบรมระหว่างวันที่ 20 สิงหาคม -18 กันยายน 2561 เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์นำมาปรับใช้กับงานของธนาคารเชื้อพันธุ์พืชต่อไป
