คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การใช้เชื้อราปฏิปักษ์ Paecilomyces lilacinus ควบคุมไส้เดือนฝอยศัตรูมันฝรั่ง
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การใช้เชื้อราปฏิปักษ์ Paecilomyces lilacinus ควบคุมไส้เดือนฝอยศัตรูมันฝรั่ง
มนตรี เอี่ยมวิมังสา, ไตรเดช ข่ายทอง, อภิรัชต์ สมฤทธิ์ และเสงี่ยม แจ่มจำรูญ
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ

          ปลูกมันฝรั่งพันธุ์แอตแลนติก ในบริเวณพื้นที่ของศูนย์บริการวิชาการฯ ตาก (ดอยมูเซอ) ตรวจพบปริมาณตัวอ่อนของไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne incognita จำนวน 200 ตัว/ดิน 500 กรัม นำเชื้อราปฏิปักษ์ Paecilomyces lilacinus ที่เพาะเลี้ยงบนอาหารวุ้น PDA มีทั้งเส้นใยและสปอร์จำนวน 1 กรัม 10 กรัม และ 20 กรัมรองใต้หัวปลูก และใช้สารแขวนลอยสปอร์ (spore suspensions) เทลงบนหัวพันธุ์จำนวน 1 ล้าน 2 ล้าน และ 3 ล้านสปอร์เปรียบเทียบกับการไม่ใส่เชื้อรารวมเป็น 8 กรรมวิธี วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ เก็บเกี่ยวผลผลิตหัวมันฝรั่งอายุ 3 เดือน พบว่า ผลผลิตหัวมันฝรั่งต่อต้นไม่แตกต่างกันทางสถิติ คือ ประมาณเฉลี่ย 305 กรัม วิเคราะห์จากแปลงที่ไม่ใส่เชื้อรามีดัชนีโรคหัวหูด 2.8 ซึ่งเป็นระดับสูง โรงงานไม่รับซื้อ การใช้กรรมวิธีใช้ PDA 30 กรัม ทำให้เกิดดัชนีโรคหัวหูดระดับ 1.2 ต่างกันเล็กน้อยจากการใช้เชื้อราบน PDA ขนาด 1 กรัม 10 กรัม และ 20 กรัม ซึ่งเกิดโรคหูดดัชนีเท่ากันทั้ง 3 กรรมวิธี คือ ระดับ 1.5 การใช้สารแขวนลอยของสปอร์ทุกกรรมวิธีเกิดโรคหูดระดับ 1.7 เท่าๆกัน เท่ากับค่าเฉลี่ยทั้งการทดลองจากการทดลองครั้งนี้ทำให้ทราบว่าเชื้อราปฏิปักษ์ P. lilacinus มีคุณสมบัติลดอาการโรครากปมได้แต่แสดงให้เห็นว่า การใช้เชื้อราที่ต้องเลี้ยงในอาหาร PDA ปริมาณมาก มีค่าใช้จ่ายสูง วิธีการยุ่งยาก ก็ยังลดการระบาดของไส้เดือนฝอยดังกล่าวไม่หมด และยังมีรอยแตก คุณภาพของหัวไม่สวย อาจถูกกดราคาลงอีกปี 2553 ได้ปรับการใช้เชื้อราดังกล่าวให้เป็นสูตรผง วิธีการที่ใช้ไม่ยุ่งยากต่อไป