คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การผลิตเชื้อปฏิปักษ์ต่อโรคเหี่ยวของมันฝรั่งปริมาณมากเพื่อเกษตรกร
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การผลิตเชื้อปฏิปักษ์ต่อโรคเหี่ยวของมันฝรั่งปริมาณมากเพื่อเกษตรกร
วงศ์ บุญสืบสกุล, ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล, ปิยรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์, บูรณี พั่ววงษ์แพทย์, สุรีย์พร บัวอาจ และวิวัฒน์ ภานุอำไพ
กลุ่มงานบักเตรีวิทยา กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตเชียงใหม่

          ตรวจเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า เชื้อ Bacillus subtilis เป็นเชื้อที่พบได้ทั่วไปในธรรมชาติ (Common micro flora) เป็นจุลินทรีย์ที่มีบทบาทสำคัญในการย่อยสลายในห่วงลูกโซ่อาหาร (food chain) สามารถย่อยสลายวัสดุธรรมชาติได้อย่างกว้างขวาง สร้างสปอร์ภายในเซลล์ (endospore) ที่ทนต่อความแปรปรวนของสภาพธรรมชาติได้ดีโดยเฉพาะสภาพที่แห้งแล้งขาดแคลนอาหาร ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบความสามารถในการมีชีวิตอยู่รอดในธรรมชาติระหว่าง B. subtilis กับเชื้อ R. solanacearum สาเหตุโรคเหี่ยวแล้ว เชื้อ B. subtilis สามารถมีชีวิตอยู่รอดในธรรมชาติได้เหนือกว่าและมีคุณสมบัติทางชีวเคมีในการเจริญในอาหารนมได้เป็นอย่างดี จึงได้ทดสอบอาหารเลี้ยงเชื้อที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตใน ห้องปฏิบัติการของเชื้อ DOA-WB4 และทดสอบการเพิ่มปริมาณเชื้อในอาหารนมชนิดต่างๆ พบว่า เชื้อนี้สามารถขยายเพิ่มปริมาณเชื้อได้ดีที่ 24 - 48 ชม.และมีประสิทธิภาพในการควบคุมการเจริญของเชื้อ R. solanacearum และได้วิธีการต่างๆ ที่ไปปรับให้เกษตรกรสามารถไปเลี้ยงเพิ่มเชื้อ DOA-WB4 ปริมาณมาก ได้มีการทดสอบพัฒนาเป็นชุดสำเร็จใช้ควบคุมโรคเหี่ยวของมันฝรั่งที่เกษตรกรสามารถทำได้เอง จากการทดสอบความมีชีวิตของเชื้อปฏิปักษ์นี้และตรวจสอบอายุการใช้งานของชุดสำเร็จควบคุมโรคเหี่ยวของมันฝรั่งพบว่า ที่อุณหภูมิห้องสามารถเก็บได้นาน 3 เดือน