คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การใช้สารไคโตซานในการป้องกันกำจัดโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมัน
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การใช้สารไคโตซานในการป้องกันกำจัดโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมัน
ธารทิพย ภาสบุตร, ศรีสุรางค์ ลิขิตเอกราช, พรพิมล อธิปัญญาคม, ยุทธศักดิ์ เจียมไชยศรี และอภิรัชต์ สมฤทธิ์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          จากการทดสอบสารไคโตซานในการป้องกันกำจัดโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมัน ในเรือนปลูกพืชทดลองครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนตุลาคม 2551 ถึงเดือนกันยายน 2552 โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB 7 กรรมวิธี 15 ซ้ำ ประกอบด้วยกรรมวิธี ไม่ปลูกเชื้อไม่ให้สารไคโตซาน ปลูกเชื้อไม่ให้สารไคโตซาน ไม่ปลูกเชื้อให้สารไคโตซานอัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตรทุก 10 วัน ปลูกเชื้อให้สารไคโตซานอัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตรทุก 10, 15, 20 และ 25 วัน ตรวจการเกิดโรคทุก 15 วัน เป็นระยะเวลา 6 เดือน ผลการทดลองพบว่า กรรมวิธีที่ปลูกเชื้อและใช้สารไคโตซานอัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตรราดโคนต้นทุก 10, 15, 20 และ 25 วัน มีระดับการเกิดโรคไม่แตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีที่ปลูกเชื้อแต่ไม่ใช้สารไคโตซาน และยังพบว่า กรรมวิธีที่ปลูกเชื้อและใช้สารไคโตซาน อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ราดโคนต้นทุก 10 วัน มีระดับการเกิดโรคไม่แตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีที่ปลูกเชื้อและใช้สารไคโตซานที่อัตราเดียวกันราดโคนต้นทุก 15 วัน