คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การจัดการโรคเหี่ยวของขิงที่เกิดจากแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum แบบผสมผสาน
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การจัดการโรคเหี่ยวของขิงที่เกิดจากแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum แบบผสมผสาน
บูรณี พั่ววงษ์แพทย์, ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล, ทิพวรรณ กันหาญาติ และลัดดาวัลย์ อินทร์สังข์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มวิชาการ สถาบันวิจัยพืชสวน

การจัดการโรคเหี่ยวของขิงที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum แบบผสมผสาน ดำเนินงานที่แปลงขิงของเกษตรกร อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ระหว่างเดือนตุลาคม 2553 – กันยายน 2554 ในพื้นที่ 1 ไร่ โดยแบ่งแปลงเป็น 2 ส่วนๆ ละ 2 งาน แปลงที่ 1 เป็นแปลงที่ใช้เทคโนโลยีการป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวของขิงโดยวิธีผสมผสาน ส่วนแปลงที่ 2 เป็นแปลงที่ทำการป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวของขิงโดยวิธีของเกษตรกร การควบคุมโรคเหี่ยวของขิงโดยวิธีผสมผสานเป็นการจัดการดินโดยใช้ยูเรียและปูนขาวในอัตรา 80 กก./ไร่ และปูนขาว 800 กก./ไร่ ร่วมกับการใช้แบคทีเรียปฏิปักษ์ B. subtilis สายพันธุ์ดินรากยาสูบ No.4 ที่มีความเข้มข้นประมาณ 108-109 หน่วยโคโลนี/มิลลิลิตร แช่หัวพันธุ์ขิงก่อนปลูก และรดแปลงทุกๆ 30 วัน สามารถควบคุมโรคเหี่ยวได้ 60% ในขณะที่แปลงปลูกขิงเปรียบเทียบของเกษตรกรพบโรคเหี่ยวมากถึง 90% ไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เลย