การจัดการโรคเหี่ยวของขิงที่เกิดจากแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum แบบผสมผสาน
#1
การจัดการโรคเหี่ยวของขิงที่เกิดจากแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum แบบผสมผสาน
บูรณี พั่ววงษ์แพทย์, ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล, ทิพวรรณ กันหาญาติ และลัดดาวัลย์ อินทร์สังข์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มวิชาการ สถาบันวิจัยพืชสวน

การจัดการโรคเหี่ยวของขิงที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum แบบผสมผสาน ดำเนินงานที่แปลงขิงของเกษตรกร อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ระหว่างเดือนตุลาคม 2553 – กันยายน 2554 ในพื้นที่ 1 ไร่ โดยแบ่งแปลงเป็น 2 ส่วนๆ ละ 2 งาน แปลงที่ 1 เป็นแปลงที่ใช้เทคโนโลยีการป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวของขิงโดยวิธีผสมผสาน ส่วนแปลงที่ 2 เป็นแปลงที่ทำการป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวของขิงโดยวิธีของเกษตรกร การควบคุมโรคเหี่ยวของขิงโดยวิธีผสมผสานเป็นการจัดการดินโดยใช้ยูเรียและปูนขาวในอัตรา 80 กก./ไร่ และปูนขาว 800 กก./ไร่ ร่วมกับการใช้แบคทีเรียปฏิปักษ์ B. subtilis สายพันธุ์ดินรากยาสูบ No.4 ที่มีความเข้มข้นประมาณ 108-109 หน่วยโคโลนี/มิลลิลิตร แช่หัวพันธุ์ขิงก่อนปลูก และรดแปลงทุกๆ 30 วัน สามารถควบคุมโรคเหี่ยวได้ 60% ในขณะที่แปลงปลูกขิงเปรียบเทียบของเกษตรกรพบโรคเหี่ยวมากถึง 90% ไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เลย


ไฟล์แนบ
.pdf   2033_2554.pdf (ขนาด: 76.92 KB / ดาวน์โหลด: 2,110)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม