คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงพันธุกรรมของแบคทีเรีย Pasteuria penetrans ไอโซเลตไทย
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงพันธุกรรมของแบคทีเรีย Pasteuria penetrans ไอโซเลตไทย
ไตรเดช ข่ายทอง, ธิติยา สารพัฒน์ และรุ่งนภา ทองเคร็ง
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงพันธุกรรมของแบคทีเรีย P. penetrans แบคทีเรียปฏิปักษ์ของไส้เดือนฝอยรากปม ซึ่งเป็นไอโซเลตที่รวบรวมได้จากพื้นที่ปลูกพืชในประเทศไทย ได้แก่ มันฝรั่ง จ.ตาก 2 ไอโซเลต พริก จ.ขอนแก่น 1 ไอโซเลต มันขี้หนู จ.สุราษฎร์ธานี 7 ไอโซเลต พริกไทย จ.จันทบุรี 2 ไอโซเลต และโหระพา จ.สกลนคร 1 ไอโซเลต รวม 13 ไอโซเลต ดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2560 - 2561 เพิ่มปริมาณสปอร์ของแบคทีเรียโดยนำตัวอ่อนไส้เดือนฝอยรากปมระยะที่สอง แช่ในเซลล์แขวนลอยของสปอร์แบคทีเรียไอโซเลตต่างๆ เพื่อให้แบคทีเรียเกาะผนังลาตัว จากนั้นนำตัวอ่อนไส้เดือนฝอยรากปมที่มีสปอร์ไปเลี้ยงในรากมะเขือเทศ เพื่อให้ไส้เดือนฝอยรากปมเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยที่มีสปอร์ของแบคทีเรีย P. penetrans อยู่ภายใน แยกไส้เดือนฝอยตัวเต็มวัยเพศเมียออกจากรากมะเขือเทศ นำไปแยกสปอร์ของแบคทีเรียออกจากตัวไส้เดือนฝอย และสกัดดีเอ็นเอ ทำปฏิกิริยา PCR ในส่วน 16S rDNA ด้วยคู่ไพรเมอร์ 27f/440r และ 440f/1492r ได้แถบดีเอ็นขนาด 448 และ 1,063 bp คู่เบส ตามลาดับ รวม 11 ไอโซเลต ผลการวิเคราะห์ maximum likelihood พบว่า P. penetrans ไอโซเลตไทยจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับ P. penetrans strain ต่างๆ ที่ได้จากฐานข้อมูลและลำดับนิวคลีโอไทด์ของ P. penetrans ไอโซเลตไทยทั้ง 11 ไอโซเลต ไม่แตกต่างกัน