การใช้ระบบกรีดแบบ 2 รอยกรีด เพื่อเพิ่มผลผลิตยาง
#1
การใช้ระบบกรีดแบบ 2 รอยกรีด เพื่อเพิ่มผลผลิตยาง
พิศมัย จันทุมา, อารักษ์ จันทุมา, พิบูลย์ เพ็ชร์ยิ่ง, สว่างรัตน์ สมนาค และธีรชาต วิชิตชลชัย
ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จันทบุรี

          การวิจัยระบบกรีดเพื่อหาระบบกรีดใหม่โดยใช้หลักการจัดการหน้ากรีดยางและพื้นฐานทางด้านสรีรวิทยาของน้ำยางในการจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิตยาง โดยได้ระบบกรีดใหม่ เรียกว่า ระบบกรีดแบบ 2 รอยกรีดหรือ Double cut alternative (DCA) โดยเปิดกรีด 2 รอยกรีด บนหน้ากรีดทั้งสองด้าน ควบคุมระยะห่างระหว่าง 2 รอยกรีด 75 - 80 เซนติเมตร เพื่อลดการแก่งแย่งระหว่างหน้ากรีดยาง กรีดยางแต่ละรอยกรีดทุก 4 วัน แต่ในระดับต้นยางเกษตรกรจะกรีดยางทุก 2 วัน หรือวันเว้นวัน มีข้อดี คือทำให้ต้นยางมีเวลาพักในการสร้างน้ำยาง ซึ่งปกติต้นยางใช้เวลาในการสร้างน้ำยาง 48 - 72 ชั่วโมง ทดลองกับยางพันธุ์ RRIM 600 ตั้งแต่ปี 2542 ที่ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ มี 3 วิธีการ ดังนี้ 1) ระบบกรีดครึ่งลำต้นกรีดวันเว้นวัน (1 ต่อ2S dต่อ2) 2) ระบบกรีด 1 ใน 3 ของลำต้น กรีดวันเว้นวันร่วมกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางเอทธีฟอนความเข้มข้น 2.5 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 4 ครั้งต่อปี (1ต่อ3S dต่อ2 ET2.5 เปอร์เซ็นต์, 4/y) ซึ่งระบบกรีดทั้ง 2 ระบบ เป็นระบบกรีดที่สถาบันวิจัยยางแนะนำ เปรียบเทียบกับ 3) ระบบกรีดแบบ 2 รอยกรีด ผลการทดลอง 8 ปีพบว่า ระบบกรีดแบบ 2 รอยกรีดให้ผลผลิต (กิโลกรัมต่อต้นต่อปี กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี กรัมต่อต้นต่อครั้งกรีด) มากกว่าระบบกรีดครึ่งลำต้นกรีดวันเว้นวัน 14 เปอร์เซ็นต์ โดยแสดงความแตกต่างทางสถิติและระบบกรีด DCA มีสมบัติทางชีวเคมีของน้ำยาง ได้แก่ ปริมาณของไธออลและอนินทรีย์ฟอสฟอรัสมากกว่าระบบกรีดครึ่งลำต้นกรีดวันเว้นวันแต่ปริมาณซูโครสไม่แตกต่างกัน


ไฟล์แนบ
.pdf   645_2551.pdf (ขนาด: 1.34 MB / ดาวน์โหลด: 729)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม