ทดสอบประสิทธิภาพของไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงในการควบคุมหนอนแมลงวันศัตรูในเห็ด
#1
ทดสอบประสิทธิภาพของไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงในการควบคุมหนอนแมลงวันศัตรูในเห็ด
วิไลวรรณ เวชยันต์, สาทิพย์ มาลี และอิศเรส เทียนทัด
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ทดสอบประสิทธิภาพของไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงในการควบคุมหนอนแมลงวันศัตรูในเห็ด ดำเนินการทดลอง ระหว่างเดือนตุลาคม 2550 ถึงเดือนกันยายน 2551 โดยการเก็บตัวอย่างก้อนเชื้อเห็ดภูฏานที่มีแมลงวันเห็ดลงทำลาย จากโรงเพาะเห็ดของเกษตรกรใน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี นำมาตรวจนับจำนวนหนอนและดักแด้ของหนอนแมลงวันศัตรูเห็ดที่พบในก้อนเชื้อเห็ด ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ จำนวนหนอนแมลงวันที่พบในก้อนเชื้อเห็ดมี 3 ลักษณะ (ไม่สามารถจำแนกชนิดของหนอนได้) โดยหนอนจะหลบซ่อนอยู่ในขี้เลื่อย หนอนมีขนาดเล็ก สีขาวครีมและสีส้ม มีลักษณะ สีสันใกล้เคียงกับขี้เลื่อยซึ่งเป็นวัสดุที่ให้เพาะเห็ด และจำนวนดักแด้ที่พบมีตั้งแต่ 10 - 50 ดักแด้/ก้อน ลักษณะของดักแด้จะอยู่บริเวณหน้าก้อนเชื้อเห็ดใกล้กับปากถุง ดักแด้จะอยู่รวมกันเป็นกระจุก เมื่อนำดักแด้ที่พบมาแยกไว้ในขวดแก้วขนาด 10 มล. พบว่า ดักแด้ใช้เวลาประมาณ 5 - 7 วัน จึงฟักเป็นตัวเต็มวัย การทดลองเลี้ยงขยายหนอนแมลงวันในห้องปฏิบัติการเพื่อเพิ่มปริมาณสำหรับการทดลอง ไม่สามารถเลี้ยงเพิ่มปริมาณหนอนแมลงวันให้มีปริมาณมากได้ เนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น ความชื้นภายในก้อนเชื้อ ฯลฯ ซึ่งต้องทำการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมร่วมทั้งต้องศึกษาการเพิ่มประชากรของหนอนแมลงวันในก้อนเชื้อเห็ด ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเต็มวัยและดักแด้ที่สำรวจพบต่อผลผลิตเห็ด ข้อมูลที่ได้ เพื่อเป็นพื้นฐานในการป้องกันกำจัดต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   1192_2552.pdf (ขนาด: 168.62 KB / ดาวน์โหลด: 526)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม