การเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชโดยการใช้สารกำจัดวัชพืชแบบ tank mixture
#1
การเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชโดยการใช้สารกำจัดวัชพืชแบบ tank mixture
จรรยา มณีโชติ, สุพัตรา ชาวกงจักร์, เบญจมาศ คำสืบ, วนิดา ธารถวิล, ยุรวรรณ อนันตนมณี และสิริชัย สาธุวิจารณ์
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 และศูนยวิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4

          การทดลองนี้ดำเนินการในแปลงทดลอง 3 แห่งของสถาบันวิจัยและพัฒนามันสำปะหลัง ตำบลห้วยบง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ในระหว่างเดือนสิงหาคม 2553 - มีนาคม 2555 โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ 14 กรรมวิธี ผลการทดลองพบว่า การผสมสารกำจัดวัชพืชสองชนิดที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชต่างชนิดกันแบบ tank mixture สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชได้กว้างขวางมากขึ้น สารกำจัดวัชพืชที่สามารถใชได้แบบ tank mixture ในมันสำปะหลัง ได้แก่ alachlor + diuron อัตรา 240-320 + 240-320, isoxaflutole + diuron อัตรา 10-15 + 240-320, clomazone + oxyfluorfen อัตรา 120 + 24, alachlor + metribuzin อัตรา 240 + 55-70, pendimethalin + flumioxazin อัตรา 192 + 10, s-metolachlor + flumioxazin อัตรา 165 + 10 และ acetochlor + diuron อัตรา 240-320 + 240-320 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ โดยอัตราต่ำใช้สำหรับดินทรายและอัตราสูงใช้สำหรับดินร่วนชนิดวัชพืชใบแคบที่ควบคุมได้ เช่น หญ้านกสีชมพู (Echinochloa colona) หญ้าตีนติด (Brachiaria reptans) หญ้าปากควาย (Dactyloctenium aegyptium) หญ้าตีนนก (Digitaria sanguinalis) หญ้าตีนกา (Eleucine indica (L.) Gaertn.) หญ้าตีนกาใหญ่ (Arachne racemosa Ohwi) หญ้าแพรก (Cynodon dactylon) และหญ้าขนเล็ก (Brachiaria distachyta L.) ชนิดวัชพืชใบกว้างที่ควบคุมได้ เช่น สาบม่วง (Praxelis clematidea(Griseb.) R.M. King & H. Rob.) สะอึก (Ipomoea gracilis) หญ้าอีหนาว (Digera nuricata) ปอวัชพืช (Corchorus olitorius) หญ้าท่าพระ (Richardia brasiliensis) สะอึก (Ipomoea spp.) โสนขน (Aeschynomene americana L.) หญ้าท่าพระ (Ricardia braziliensis Gomez) ผักปราบไร่ (Commelina benghalensis L.) ผักโขม (Amaranthus viridis L.) ตีนตุ๊กแก (Tridax procumbens Linn.) ขยุมตีนหมา (Ipomoea pes-tigridis L.) หญ้ายาง (Euphorbia geniculata Ort.) ถั่วลิสงนา (Alysicarpus vaginalis (L.) DC.) ผักเสี้ยนขน (Cleome rutidosperma) และกะเพราผี (Hyptis suaveolens) ซึ่งการทดลองนี้ยังตองทดสอบในแปลงที่มีการปลูกแบบฝั่งกลบท่อนพันธุ์ต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   1984_2554.pdf (ขนาด: 279.59 KB / ดาวน์โหลด: 784)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม