การศึกษาอายุต้นกล้าไพลที่ได้จากเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่เหมาะสมในการปลูกในแปลง
#1
การศึกษาอายุต้นกล้าไพลที่ได้จากเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่เหมาะสมในการปลูกในแปลง
พฤกษ์  คงสวัสดิ์, นิตยา คงสวัสดิ์, ปราณี เถาโท, ธวัชชัย นิ่มกิ่งรัตน์ และสัจจะ ประสงค์ทรัพย์
ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ

          ไพล  (Phlai : Zingiber cassumnar) เป็นพืชสมุนไพรที่มีความต้องการของตลาดค่อนข้างสูง ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกไพลประมาณ 1,000 ไร่ แต่ปัญหาสำคัญของการผลิตไพลคือโรคหัวเน่าที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าทำลาย และยังไม่มีวิธีการใดที่จะสามารถควบคุมโรคหัวเน่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ  จำเป็นต้องหาวิธีการป้องกันกำจัดโรคหัวเน่าเพื่อการผลิตหัวไพลที่มีคุณภาพ ปราศโรคเหี่ยวสำหรับปลูกในสภาพแปลงปลูก  และขั้นตอนการผลิตหัวพันธุ์ไพลพันธุ์ดีของกรมวิชาการเกษตรในเชิงพาณิชย์  แผนการทดลองเปรียบเทียบอายุต้นกล้าไพลที่ได้จากเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่เหมาะสมในการปลูกในแปลงจำนวน 9 กรรมวิธี ได้แก่ 1. ต้นพันธุ์ไพลรุ่น G1 อายุ 24 เดือน (จากหัวไพลรุ่น G0  ที่ออกปลูกเดือน ก.พ.2555)  2. ต้นพันธุ์ไพลรุ่น G1 อายุ 23 เดือน (จากหัวไพลรุ่น G0  ที่ออกปลูกเดือน มี.ค.2555)  3. ต้นพันธุ์ไพลรุ่น G1 อายุ 22 เดือน (จากหัวไพลรุ่น G0 ที่ออกปลูกเดือน เม.ย.2555) 4. ต้นพันธุ์ไพลรุ่น G1 อายุ 21 เดือน (จากหัวไพลรุ่น G0 ที่ออกปลูกเดือน พ.ค.2555) 5. ต้นพันธุ์ไพลรุ่น G1 อายุ 20 เดือน (จากหัวไพลรุ่น G0 ที่ออกปลูกเดือนมิ.ย.2555) 6. ต้นพันธุ์ไพลรุ่น G1 อายุ 19 เดือน (จากหัวไพลรุ่น G0  ที่ออกปลูกเดือน ก.ค.2555) 7. ต้นพันธุ์ไพลรุ่น G0 อายุ 12 เดือน (ออกปลูกเดือนกพ. 2556)  8. ต้นพันธุ์ไพลรุ่น G0 อายุ  2 เดือน (ออกปลูกเดือนกพ. 2557) และ 9. ต้นพันธุ์ไพลจากแปลง เก็บเกี่ยวที่อายุ 12 เดือน (กรรมวิธีควบคุม) ทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษปี  2555 - 2557 รวม 3 ปี

          ผลการทดลองพบว่า อายุต้นพันธุ์ไพลที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีในรุ่น G1 แต่ละกรรมวิธี มีผลต่อความสูงต้นเฉลี่ย ความกว้างทรงพุ่มเฉลี่ย และจำนวนหน่อใหม่ โดยต้นพันธุ์ไพลรุ่น G1 อายุ 24 เดือนมีจำนวนหน่อใหม่และน้ำหนักหัวไพลมากที่สุด (11.0 ยอด และ1,000 กรัม ตามลำดับ) มากกว่าหัวพันธุ์ไพลจากแปลง (control)  (5.7 ยอด และ110 กรัม ตามลำดับ) มีจำนวนหน่อใหม่มากกว่าถึงร้อยละ 92.98%  และน้ำหนักหัวไพลมากว่าร้อยละ 909.09  อาจเกิดจากหัวพันธุ์ไพลที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีการปนเปื้อนของโรคเหี่ยวน้อยกว่าหัวพันธุ์จากแปลงที่ปลูกติดต่อกันมาเป็นระยะเวลานาน  แต่ในปี 2557 ไม่พบว่าเกิดอาการโรคเหี่ยวในทุกกรรมวิธีอาจเกิดจาก เกิดภาวะแล้งจัด และมีปริมาณฝนตกเพียง 2 เดือนเท่านั้น

สรุปผลการทดลอง 
          1. ต้นไพลที่เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อในรุ่น G1 อายุ 24 เดือนเหมาะสมในการผลิตหัวแม่พันธุ์ไพลในเชิงการค้า   ซึ่งจะให้ผลผลิตหัวไพลมากว่าหัวพันธุ์จากแปลงไม่น้อยกว่า 480 กิโลกรัมต่อไร่ ในปลูกเวลา 1 ปี 
          2. ต้นไพลที่เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อสามารถใช้ปลูกทั้งหัวไพลในรุ่น G0 และในรุ่น G1   โดยจะใช้พื้นที่ผลิตหัวพันธุ์น้อยกว่าการผลิตในแปลงมากก่อน


ไฟล์แนบ
.pdf   176_2557.pdf (ขนาด: 418.82 KB / ดาวน์โหลด: 2,455)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม