โครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดินลุ่มน้ำภาค (ภูขัด ภูเมี่ยง ภูสอยดาว)
#1
โครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดินลุ่มน้ำภาค (ภูขัด ภูเมี่ยง ภูสอยดาว) อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก
กฤชพร ศรีสังข์, กุลธิดา ดอนอยู่ไพร, พนิต หมวกเพชร, ธำรง ช่วยเจริญ, นุกูล อ่อนนิ่ม, พิชาภพ เกตุทอง และดิเรก ตนพยอม
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2

           โครงการเทคโนโลยีการผลิตยางพาราบนพื้นที่สูงภายใต้โครงการรักษ์น้้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดินลุ่มน้้ำภาค(ภูขัด ภูเมี่ยง ภูสอยดาว) ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก มีการดำเนินงาน 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมแปลงต้นแบบการผลิตยางพาราตามเทคโนโลยีการผลิตยางพาราของกรมวิชาการเกษตร และกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยางพาราตามเทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตร

          กิจกรรมแปลงต้นแบบการผลิตยางพาราตามเทคโนโลยีการผลิตยางพาราของกรมวิชาการเกษตรเพื่อให้เกษตรกรมีแหล่งเรียนรู้แปลงต้นแบบการการผลิตยางพาราอย่างถูกวิธี มีขนาดพื้นที่ 15 ไร่ เป็นแปลงปลูกยางพาราที่เริ่มดำเนินการปลูกมาตั้งแต่ปี 2532 ซึ่งสถาบันวิจัยยางมีโครงการวิจัยการศึกษาทดลองพันธุ์ยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ปลูกแหล่งใหม่ จึงเป็นแปลงยางที่ได้รวบรวมพันธุ์ยางพาราทั้งหมด 6 สายพันธุ์ ได้แก่ RRIM600 จำนวน 211 ต้น, H2 จำนวน 15 ต้น, RRII 118 จำนวน 32 ต้น, PB 235 จำนวน 108 ต้น, BPM 24 จำนวน 80 ต้น และ GT1 จำนวน 154 ต้น ปี 2554 มีเกษตรกรและผู้สนใจเข้ามาศึกษาดูงาน 13 ครั้ง จำนวน 144 ราย เพื่อให้เกษตรกรได้เรียนรู้การปฏิบัติการดูแลรักษาตามเทคโนโลยีการผลิตยางพาราของกรมวิชาการเกษตรที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่สูง กิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยางพาราตามเทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตรมีการจัดฝึกอบรมจำนวน 3 หลักสูตร ปี 2553 จำนวน 1 หลักสูตร เรื่องการกรีดยางพารา ปี 2554 จำนวน 2 หลักสูตร เรื่องการลับมีดกรีดยางพาราที่ถูกต้องเหมาะสม และหลักสูตรการกรีดยางพาราที่ถูกต้องเหมาะสม การดำเนินงานการฝึกอบรม มีการบรรยายของวิทยากรตามหลักสูตรที่เกี่ยวข้องและการปฏิบัติ โดยการสาธิตของเจ้าหน้าที่และการฝึกปฏิบัติจริงของเกษตรกร การประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบพบว่า ก่อนฝึกอบรมผู้เข้าฝึกอบรมได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 58 หลังการฝึกอบรมแล้วผู้เข้าร่วมฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเพิ่มขึ้น ซึ่งประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบเดิมพบว่า ผู้เข้าฝึกอบรมได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 83 เพิ่มขึ้นร้อยละ 25

          การติดตามประเมินผลการได้รับความรู้ของเกษตรกรที่เข้ารับการอบรมการกรีดยางพาราโดยคัดเลือกจากเกษตรกรต้นแบบที่ได้รับพันธุ์ยางพาราจากโครงการฯ จำนวน 10 ราย พบว่า เกษตรกรมีกรีดยางถูกวิธีและมีความชำนาญมากขึ้นเมื่อเกษตรกรได้รับการอบรม จากการสัมภาษณ์เกษตรกรโดยใช้แบบสัมภาษณ์พบว่า เกษตรกรมีรายได้จากภาคการเกษตรคือ ปลูกข้าวโพดหรือข้าวไร่ มีรายได้เฉลี่ย 55,000 บาท/ปี/ครัวเรือน เมื่อเกษตรกรกรีดยางพาราทำให้เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ย 99,213 บาท/ปี/ครัวเรือน แสดงว่าเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 44,213 บาท/ปี/ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 80 รายได้ที่มาจากผลผลิตยางพาราซึ่งเกษตรกรขายแบบยางก้อนถ้วย เกษตรกร มีผลผลิตเฉลี่ย 259 กิโลกรัม/ไร่ ราคาขายเฉลี่ยกิโลกรัมละ 43 บาท เกษตรกรมีรายได้จากยางพาราเฉลี่ย 11,024 บาท/ไร่ ดังนั้นการปลูกยางพาราต้องใช้ระยะเวลาของการเจริญเติบโตนาน แต่เมื่อยางพาราให้ผลผลิตเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 80 เกษตรกรสามารถยกระดับฐานะความเป็นอยู่ มีความมั่นคง ยั่งยืน และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ยางพาราจึงเป็นพืชทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนไปปลูกในพื้นที่สูงได้อย่างดี และเป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนดีในระยะยาวอีกทางหนึ่ง


ไฟล์แนบ
.pdf   2250_2555.pdf (ขนาด: 1.89 MB / ดาวน์โหลด: 1,041)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม