ผลกระทบของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีต่อมวนเพชฌฆาตในห้องปฏิบัติการ และกึ่งแปลงทดสอบ
#1
ผลกระทบของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีต่อมวนเพชฌฆาตในสภาพห้องปฏิบัติการ และสภาพกึ่งแปลงทดสอบ
รัตนา นชะพงษ์, สาทิพย์ มาลี และสมชัย สุวงศ์ศักดิ์ศรี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ผลกระทบของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชต่อมวนเพชฌฆาตในสภาพห้องปฏิบัติการและสภาพกึ่งแปลงทดสอบ ดำเนินการทดลองในปี 2554 – 2556 สำหรับในปี 2555 ทดลองในกระเจี๊ยบเขียว ดำเนินการทดลองกับมวนเพชฌฆาตระยะตัวอ่อนวัย 5 วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 5 ซ้ำ 10 กรรมวิธี ได้แก่ น้ำ และสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช 9 ชนิด ที่อัตราต่างๆ ต่อน้ำ 20 ลิตร ที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้ใช้ในกระเจี๊ยบเขียว ทดลองโดยพ่นน้ำและสารฯ บนต้นกระเจี๊ยบเขียวในแปลงเกษตรกรที่จังหวัดกาญจนบุรี ในตอนเย็น และเก็บใบกระเจี๊ยบเขียวจากกรรมวิธีต่างๆ ในตอนเช้านำกลับมายังห้องปฏิบัติการ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และนำมาใส่ในหลอดแก้วทดลองพร้อมมวนเพชฌฆาตตัวอ่อนวัย 5 นาน 48 ชั่วโมง เพื่อทดสอบผลของสารฯ ต่อมวน ใส่ดักแด้หนอนนกเพื่อเป็นอาหาร การทดลองพบว่า มีสาร 1 ชนิดที่ปลอดภัยต่อมวนเพชฌฆาตตัวอ่อนวัย 5 มากที่สุด ได้แก่ clothianidin 16%SG โดยทำให้มวนตาย 0 % และไม่แตกต่างทางสถิติกับน้ำ (0%) และสารที่ปลอดภัยต่อมวนเพชฌฆาตรองลงมามี 6 ชนิด ได้แก่ etofenprox 20%EC, buprofezin 10%WP, carbosulfan 20%EC, dinotefuran 10%WP, fipronil 5%SC และ fenpropathrin 10%EC ทำให้มวนเพชฌฆาตตัวอ่อนวัย 5 ตาย 12, 12, 16, 16, 8 และ 20% ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างทางสถิติกับน้ำและ clothianidin และมีระดับความเป็นพิษต่อมวนเท่ากับ 1 เช่นเดียวกับน้ำและ clothianidin ส่วนสารอีก 2 ชนิด ได้แก่ lambdacyhalothrin และ imidacloprid 10%SL ทำให้มวนเพชฌฆาตตาย 24 และ 40 % ตามลำดับ โดยแตกต่างทางสถิติกับน้ำ และมีระดับความเป็นพิษต่อมวนเท่ากับ 1 และ 2 ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   2425_2555.pdf (ขนาด: 238.62 KB / ดาวน์โหลด: 662)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม