ศึกษาปฏิกิริยาของทุเรียนพันธุ์ลูกผสมต่อเชื้อรา Phytopthora palmivora
#1
ศึกษาปฏิกิริยาของทุเรียนพันธุ์ลูกผสมต่อเชื้อรา Phytopthora palmivora
นลินี ศิวากรณ์, วีรญา เต็มปิติกุล และทรงพล สมศรี
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, ศูนยวิจัยและพัฒนาการเกษตรจันทบุรี และสำนักผู้เชี่ยวชาญ กรมวิชาการเกษตร

          เชื้อรา Phytopthora palmivora สาเหตุโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียนที่แยกได้มีขนาด 20.24-40.48 X 30.36-60.72 μ จากการทดลองปฏิกิริยาของทุเรียน 24 สายพันธุ์กับเชื้อราสาเหตุที่แยกได้พบว่า ใบทุเรียนแสดงความรุนแรงในการเกิดโรคในทุกสายพันธุ์ที่ทดสอบโดยมีลักษณะเป็นแผลขยายออกไปรอบรอยแผลที่ปลูกเชื้อ สายพันธุ์ที่แสดงลักษณะค่อนข้างต้านทานต่อการเกิดโรคโดยให้ค่าเฉลี่ยขนาดของแผลเล็กที่สุด ได้แก่ สายพันธุ์ 6-413-7, ICNxM 5-1-1 และ ICN 7-6-2 มีขนาดแผลเท่ากับ 1.295, 1.303 และ 1.320 ซม.ตามลำดับ สายพันธุ์ที่แสดงความอ่อนแอต่อการเกิดโรคโดยให้ค่าเฉลี่ยขนาดของแผลใหญ่ที่สุด ได้แก่ IIICN 6-1-4-7 และหมอนทอง มีขนาดแผลเท่ากับ 3.363 ซม. และ 3.250 ซม.ตามลำดับ ทุเรียนสายพันธุ์การค้าอื่นๆ ได้แก่ ชะนี, กระดุม และก้านยาวให้ค่าเฉลี่ยขนาดของแผลเท่ากับ 1.632, 1.917 และ 2.025 ซม.ตามลำดับ และไม่มีสายพันธุ์ใดที่แสดงความต้านทานต่อการเกิดโรคที่เกิดจากเชื้อรานี้


ไฟล์แนบ
.pdf   2303_2555.pdf (ขนาด: 91.84 KB / ดาวน์โหลด: 575)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม