สถานการณ์เฝ้าระวังและควบคุมจอกหูหนูยักษ์ - ศัตรูพืชกักกัน
#1
สถานการณ์เฝ้าระวังและควบคุมจอกหูหนูยักษ์ - ศัตรูพืชกักกัน
ศิริพร ซึงสนธิพร, วิทยา พงษ์ทอง, จรัญญา ปิ่นสุภา และธัญชนก จงรักไทย
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร

          จอกหูหนูยักษ์ (Giant Salvinia : Salvinia molesta D.S. Mitchell) เป็นเฟิร์นน้ำต่างถิ่นที่รุกรานมากที่สุด และถูกจัดว่าเป็นวัชพืชร้ายแรงที่สุดของโลกชนิดหนึ่งด้วย ประเทศไทยได้ประกาศพืชชนิดนี้เป็นสิ่งต้องห้าม เนื่องจากเป็นศัตรูพืชกักกัน ตั้งแต่ธันวาคม 2521 จนถึงปัจจุบัน การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเฝ้าระวังการไม่ให้จอกหูหนูยักษ์ระบาด และกลับมาระบาดใหม่ในพื้นที่ที่เคยพบแล้ว โดยการสำรวจในพื้นที่แบบเจาะจงและสืบพบในตลาดพรรณไม้แหล่งน้ำใกล้สถานที่ที่พบจอกหูหนูยักษ์ และแหล่งที่ได้รับแจ้งจากประชาชน ผลจากดำเนินการระหว่างตุลาคม 2551-กันยายน 2553 พบจอกหูหนูยักษ์ 2 แหล่งใหญ่ คือ แม่น้ำแม่กลอง และแหล่งน้ำในจังหวัดสงขลา นอกนั้นพบจำหน่าย และใช้จอกหูหนูยักษ์เป็นไม้ประดับเล็กน้อย การจัดการเมื่อพบจอกหูหนูยักษ์ในปริมาณไม่มาก เช่น จำหน่ายหรือเป็นไม้ประดับ ใช้วิธีอธิบาย ทำความเข้าใจ ขอความร่วมมือในการกำจัด และนำออกไปตากให้แห้งแล้วเผาหรือฝัง ส่วนที่พบในปริมาณมาก แจ้งให้หน่วยงานท้องถิ่น เพื่อร่วมกันในการกำจัดและเฝ้าระวังต่อไป โดยกรมวิชาการเกษตร มีหน้าที่ให้ข้อมูลทางด้านวิชา และชี้แจงข้อมูลทางวิชาการให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องทราบ นับเป็นการพบศัตรูพืชกักกันชนิดแรกที่ระบาดสู่สภาพธรรมชาติ การดำเนินงานนี้เป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติกักพืช และพยายามทำให้เกิดขบวนการควบคุมอย่างเป็นทางการครั้งแรกของประเทศไทยด้วย


ไฟล์แนบ
.pdf   1870_2554.pdf (ขนาด: 165.96 KB / ดาวน์โหลด: 490)
ตอบกลับ


ข้อความในเรื่องนี้
สถานการณ์เฝ้าระวังและควบคุมจอกหูหนูยักษ์ - ศัตรูพืชกักกัน - โดย doa - 10-14-2015, 02:57 PM



ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม