การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีการวิเคราะห์สารพิษตกค้าง
#1
การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีการวิเคราะห์สารพิษตกค้าง diazinon chlorpyrifos pirimiphos-methyl fenitrothionethion cypermethrin และ endosulfan  ในมะม่วง
เกษสิริ ฉันทพิริยะพูน, ดาวนภา ช่องวารินทร์, ประไพ หงษา และขนิษฐา วงษ์นิกร

          ตามที่กรมวิชาการเกษตรได้นำวิธีวิเคราะห์ของ Steinwandter H. (1985) มาใช้ในการวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณสารพิษตกค้างในพืชผักและผลไม้ วิธีดังกล่าวผ่านการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีจากส่วนกลางและห้องปฏิบัติการเครือข่ายของกรมวิชาการเกษตร แต่อย่างไรก็ตามการตรวจสอบรวมถึงการยืนยันความใช้ได้ของวิธีการวิเคราะห์โดยห้องปฏิบัติการของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 ก็ยังจำเป็นต้องมีการตรวจสอบ ทั้งนี้เพื่อให้มีความมั่นใจได้ว่าวิธีการวิเคราะห์รวมถึงเจ้าหน้าที่ทดสอบ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้มีความเหมาะสม และเพื่อยืนยันสมรรถนะของห้องปฏิบัติการว่าสามารถทำได้ตามที่ระบุไว้ในวิธีการวิเคราะห์

          จากผลการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีการวิเคราะห์ผลการวิเคราะห์ดังนี้ ค่า diazinon Limit of Detection(LOD) 0.0039 มก./กก. Limit of Quantification (LOQ) 0.0074 มก./กก. ช่วงการใช้งาน 0.0084-4.2156 มก./กก. ให้ค่าความเป็นเส้นตรง R2 0.9979, pirimiphos-methyl LOD 0.0044 มก./กก. LOQ 0.0078 มก./กก. ช่วงการใช้งาน 0.0086-4.3085 มก./กก. ให้ค่าความเป็นเส้นตรง R2 0.9982, chlorpyrifos LOD 0.0041 มก./กก. LOQ 0.0079 มก./กก. ช่วงการใช้งาน 0.0083-4.1580 มก./กก. ให้ค่าความเป็นเส้นตรง R2 0.9981, fenitrothion LOD 0.0044 มก./กก. LOQ 0.0089 มก./กก. ช่วงการใช้งาน 0.0080-4.0096 มก./กก. ให้ค่าความเป็นเส้นตรง R2 0.9984 ethion LOD 0.0042 มก./กก. LOQ 0.0087 มก./กก. ช่วงการใช้งาน 0.0084-4.2035 มก./กก. ให้ค่าความเป็นเส้นตรง R2 0.9980 A-endosulfan LOD 0.00012 มก./กก. LOQ 0.00084 มก./กก. ช่วงการใช้งาน 0.0013-1.9910 มก./กก. ให้ค่าความเป็นเส้นตรง R2 0.9955 β-endosulfan LOD 0.00025 มก./กก. LOQ 0.00083 มก./กก. ช่วงการใช้งาน 0.0017-2.6656 มก./กก. ให้ค่าความเป็นเส้นตรง R2 0.9947 endosulfan sulfate LOD 0.00044 มก./กก. LOQ 0.00086 มก./กก. ช่วงการใช้งาน 0.0014-2.1138 มก./กก. ให้ค่าความเป็นเส้นตรง R2 0.9949 cypermethrin LOD 0.0022 มก./กก. LOQ 0.0084 มก./กก. ช่วงการใช้งาน 0.0063-3.1427 มก./กก. ให้ค่าความเป็นเส้นตรง R2 0.9964 Accuracy และ Precision อยู่ในเกณฑ์การยอมรับจากข้อมูลข้างต้นพบว่าวิธีวิเคราะห์ ของ Steinwandter H. (1985) สามารถนำมาใช้ในการตรวจสอบสารพิษตกค้างของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 ได้


ไฟล์แนบ
.pdf   914_2551.pdf (ขนาด: 952.14 KB / ดาวน์โหลด: 534)
ตอบกลับ


ข้อความในเรื่องนี้
การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีการวิเคราะห์สารพิษตกค้าง - โดย doa - 08-03-2016, 04:37 PM



ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม