ประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืชแบบ pre-emergence ในมันสำาปะหลัง
#1
ประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืชแบบ pre-emergence ในมันสำาปะหลัง
จรรยา มณีโชติ, สุพัตรา ชาวกงจักร์, เบญจมาศ คำสืบ, วนิดา ธารถวิล, ยุรวรรณ อนันตนมณี และสิริชัย สาธุวิจารณ์
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 และศูนยวิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4

          จากการทดสอบประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืชพ่นแบบก่อนวัชพืชงอก (Pre-emergence application) ในเรือนทดลองและแปลงทดลองในสภาพไร่ 3 แปลง ที่สถาบันวิจัยและพัฒนามันสำปะหลัง ตำบลห้วยบง อำเภอด่านขุนทด และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา พบว่าสารกำจัดวัชพืชที่สามารถควบคุมวัชพืชได้ดี โดยไม่เป็นอันตรายต่อต้นมันสำปะหลัง ได้แก่ alachlor, acetochlor, clomazone, dimethenamid, diuron, flumioxazin, isoxaflutole, s-metolachlor, isoxaflutole, metribuzin, oxyfluorfen, pendimethalin และ oxadiazon อัตรา 320, 320, 120, 270, 320, 20, 15, 192, 20, 100, 48, 165 และ 120 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ตามลำดับ สารกำจัดวัชพืช sulfentrazone อัตรา 100 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ สามารถควบคุมแห้วหมูและวัชพืชใบแคบใบกว้างได้ดี แต่มีความเป็นพิษปานกลางต่อมันสำปะหลังในระยะ 30 วันหลังพ่น สารกำจัดวัชพืช alachlor, isoxaflutole, s-metolachlor, isoxaflutole, metribuzin, pendimethalin นั้น สามารถกำจัดวัชพืชใบแคบได้ดีแต่ไม่สามารถควบคุมวัชพืชใบกว้างหลายชนิดได้ ดังนั้น ในสภาพแปลงที่มีวัชพืชใบแคบและใบกว้างหนาแน่นใกล้เคียงกัน จึงควรนำสารเหล่านี้ผสมกับสารกำจัดวัชพืชที่สามารถควบคุมวัชพืชใบกว้างได้ดี เช่น diuron, flumioxazin, clomazone และ oxyfluorfen


ไฟล์แนบ
.pdf   1983_2554.pdf (ขนาด: 322.6 KB / ดาวน์โหลด: 647)
ตอบกลับ


ข้อความในเรื่องนี้
ประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืชแบบ pre-emergence ในมันสำาปะหลัง - โดย doa - 11-02-2015, 01:00 PM



ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม