การควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมันโดยชีววิธี
#1
การควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมันโดยชีววิธี
พรพิมล อธิปัญญาคม, ชนินทร ดวงสอาด และสุณีรัตน์ สีมะเดื่อ
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          การแยกเชื้อราเอ็นโดไฟท์จากส่วนต่างๆ ของพืช 5 ชนิด คือ ปาล์มน้ำมัน รางจือ กระถินเทพา รางจืด และไผ่ ในระหว่าง ตุลาคม 2554 - กันยายน 2556 ได้ เชื้อราเอ็นโดไฟท์ 85 ไอโซเลท โดยแยกได้จากปาล์มน้ำมัน 30 ไอโซเลท รางจืด 26 ไอโซเลท กระถินเทพา 14 ไอโซเลท ย่านาง 10 ไอโซเลท และไผ่ 5 ไอโซเลท จากการจำแนกชนิดของเชื้อราเอ็นโดไฟท์ที่แยกได้ในเบื้องต้นเป็นเชื้อรา Fusarium, Colletotrichum, Nigrospora, Aspergillus, Acremonium, Xylalia และเชื้อราที่ไม่สร้างสปอร์ เมื่อทำการทดสอบการเป็นปฎิปักษ์กับเชื้อเห็ด Ganoderma boninense สาเหตุโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมันโดยวิธี dual culture พบว่าเชื้อราเอ็นโดไฟท์ 1 ไอโซเลท มีความสามารถในการยับยั้งการเจริญของเชื้อเห็ด G. boninense คือไอโซเลท KtB-4 ซึ่งแยกได้จากก้านกระถินเทพาจากอำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี

          จากการรวบรวมและจำแนกราวี-เอ ไมคอร์ไรซา จากแหล่งพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน โดยเก็บตัวอย่างดินและรากของต้นพืชบริเวณรอบลำต้นปาล์มน้ำมัน จำนวน 22 ตัวอย่าง จากอำเภอท่าชนะ อำเภอเมือง อำเภอท่าฉาง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอคลองท่อม อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ อำเภอปะทิว อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และอำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี ทำการศึกษาแยกราวีเอไมคอร์ไรซาจากดินที่เก็บมทั้งหมดจ้านวน 22 ตัวอย่าง พบราวีเอไมคอร์ไรซาจากดินจ้านวน 11 ตัวอย่าง นอกนั้นไม่พบราวีเอไมคอร์ไรซาและศึกษาจากดิน 22 ตัวอย่าง ศึกษาลักษณะราวีเอไมคอร์ไรซาภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบ stereo microscope และ compound microscope แยกได้ราวีเอไมคอร์ไรซา ทั้งหมด 56 ไอโซเลท เก็บรักษาราวีเอไมคอร์ไรซาไว้ในดินทรายที่อบฆ่าเชื้อแล้ว และเพิ่มปริมาณราวีเอไมคอร์ไรซา ไว้ในดินปลูกข้าวโพด แยกราสาเหตุโรคลำต้นเน่าปาล์มน้้ามันจากต้นปาล์มที่เป็นโรคจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีและกระบี่ แยกเชื้อโดยใช้อาหาร Ganoderma Selective Media จำแนกชนิดราสาเหตุโรคลำต้นเน่าปาล์มน้ำมันเป็นรา G. boninense เก็บเชื้อไว้บนอาหาร PDA ที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส


ไฟล์แนบ
.pdf   10_2556.pdf (ขนาด: 772.64 KB / ดาวน์โหลด: 1,499)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม