การปรับปรุงวิธีการตรวจหาแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum ในหัวพันธุ์ปทุมมา
#1
การปรับปรุงวิธีการตรวจหาแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum ในหัวพันธุ์ปทุมมาโดยใช้ชุดตรวจสอบ (GLIFT kit) โรคเหี่ยวของปทุมมา
ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล, ดารุณี ปุญญพิทักษ์, ทิพวรรณ กันหาญาติ, รุ่งนภา ทองเคร็ง, วิภาดา ทองทักษิณ และสุธามาศ ณ น่าน
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, กลุ่มวิชาการ สถาบันวิจัยพืชสวน และศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย สถาบันวิจัยพืชสวน

          ศึกษาวิธีการเตรียมตัวอย่างหัวพันธุ์ปทุมมาที่มีประสิทธิภาพโดยการนำหัวพันธุ์ปทุมมา มาตัดชิ้นส่วน นำเอาเฉพาะส่วนท่อน้ำ ท่ออาหารมาตรวจหาเชื้อ Ralstonia solanacearum ได้ดีที่สุด ทดสอบบัปเฟอร์ต่างๆ ในการทำ GLIFT kit ได้แก่ coating buffer phosphate buffer citrate buffer Tris buffer ได้สารละลาย buffer ที่เหมาะสมในการทำชุดตรวจสอบ ทดสอบความเข้มข้นของแอนติซีรั่มที่ใช้ในการผลิตชุดตรวจสอบ ได้ความเข้มข้นของแอนติซีรั่มที่ใช้ในการผลิตชุดตรวจสอบ 1:500 ทดสอบความเฉพาะเจาะจงของแอนติซีรั่ม พบว่า มีความเฉพาะเจาะจงกับเชื้อแบคทีเรีย RS ที่ความเข้มข้นต่ำสุด 1x10(3) cfu/ml ทดสอบ buffer ต่างๆ กับกระดาษชนิดต่างๆ ในการทำชุด GLIFT kit พบว่า buffer สามารถใช้ได้ดีกับกระดาษไนโตรเซลูโลส AE99 โดยมีความไวในการตรวจ 10x10(3) cfu/ml ทำการปรับปรุงขนาดกระดาษของส่วน Absorbent Pad ของชุดตรวจสอบให้ยาวขึ้น 0.5 เซนติเมตร ทำให้การไหลของสารในแนวตั้งดีขี้น สามารถตัดชุดตรวจสอบเป็นแผ่นแล้วจุ่มลงไปในสารละลายเชื้อแบคทีเรียได้เลยโดยไม่ต้องใส่ลงในตลับ

          เก็บหัวพันธุ์ปทุมมาจากแปลงจังหวัดเชียงใหม่ นำไปทดสอบชุดตรวจสอบ โดยเตรียมตัวอย่างหัวพันธุ์เอาเฉพาะส่วนท่อน้ำท่ออาหารมาแช่ใน buffer นาน 5 นาที จากนั้นนำชุดตรวจสอบแช่ลงในตัวอย่าง ภายใน 5 - 10 นาที่ ตัวอย่างที่มีเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum จะปรากฏแถบสีม่วงของ test line และ control line ในขณะที่ ตัวอย่างที่ไม่มีเชื้อเกิดแถบสีม่วงเฉพาะ control line ผลการทดสอบกับหัวพันธุ์ปทุมมาพบว่าสามารถตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย R. solanacearum ในหัวพันธุ์ได้ผลดีโดยสามารถตรวจได้ในระดับ 104 cfu/ml


ไฟล์แนบ
.pdf   34_2556.pdf (ขนาด: 361.04 KB / ดาวน์โหลด: 830)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม