การใช้แมลงช้างปีกใสควบคุมเพลี้ยแป้งในน้อยหน่า
#1
การใช้แมลงช้างปีกใสควบคุมเพลี้ยแป้งในน้อยหน่า
ประภัสสร เชยคำแหง, บุษบง มนัสมั่นคง และสายชล แสงแก้ว
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4

          ผลการทดลองในปี 2555 พบว่าแมลงช้างปีกใส P. ramburi มีประสิทธิภาพในการกินเพลี้ยแป้งบนผลน้อยหน่า ตามระยะวัยที่ 1 2 และ 3 คือ 32.15 ± 20.04 209.8 ± 45.80 และ 332.25 ± 81.43 ตัวตามลำดับ (ตารางที่1) สามารถดำรงชีวิตบนผลน้อยหน่าจนกระทั่งเข้าดักแด้ และใช้แมลงช้างปีกใส P. ramburi วัย 2 ควบคุมเพลี้ยแป้งน้อยหน่า พบว่าเมื่อเริ่มพบเพลี้ยแป้ง 5 - 10 ตัวต่อผล ใช้ตัวอ่อนแมลงช้างปีกใส วัย 2 จำนวน 2 ตัวต่อผล สามารถควบคุมเพลี้ยแป้งได้ ภายใน 5 วัน และเพลี้ยแป้งบนผลน้อยหน่า มีปริมาณ 10 - 20 ตัว ใช้ตัวอ่อนแมลงช้างปีกใส วัย 2 จำนวน 5 ตัวต่อผลภายใน 5 วัน ถ้าปริมาณเพลี้ยแป้งบนผลน้อยหน่าระบาดมากเกิน 2 ใน 4 ส่วนของผลน้อยหน่าใช้แมลงช้างปีกใส จ านวน 10 ตัว ภายใน 5 วัน ผลการทดลองศึกษาอัตราการใช้แมลงช้างปีกใสในการควบคุมเพลี้ยแป้งในสภาพแปลงทดลองพบว่า กรรมวิธีที่ 1 ปล่อยแมลงช้างปีกใสวัย 2 อัตรา 1 ตัว/ผล กรรมวิธีที่ 2 ปล่อยแมลงช้างปีกใสวัย 2 อัตรา 5 ตัว/ผล กรรมวิธีที่ 3 ปล่อยแมลงช้างปีกใสวัย 2 อัตรา 10 ตัว/ผล กรรมวิธีที่ 4 ปล่อยแมลงช้างปีกใสวัย 2 อัตรา 15 ตัว/ผล และกรรมวิธีที่ 5 Control มีเปอร์เซ็นความเสียหายคิดเป็น 90, 75, 47.5, 42.5 และ 85% ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   54_2556.pdf (ขนาด: 584.07 KB / ดาวน์โหลด: 2,322)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม