การเพิ่มประสิทธิภาพของเชื้อไวรัสเอ็นพีวีชนิดต่างๆ ด้วยเทคนิค Microencapsulation
#1
การเพิ่มประสิทธิภาพของเชื้อไวรัสเอ็นพีวีชนิดต่างๆ ด้วยเทคนิค Microencapsulation
สมชัย สุวงศ์ศักดิ์ศรี, ภัทรพร สรรพนุเคราะห์ และอิศเรส เทียนทัด
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพของเชื้อไวรัสเอ็นพีวีชนิดต่างๆ ด้วยเทคนิค Microencapsulation เบื้องต้นทำการคัดเลือกสารเคมีที่มีความทนทานต่อรังสียูวีสำหรับผสมสูตรสำเร็จรูปของเชื้อไวรัส เอ็นพีวี 3 ชนิด ได้แก่ หนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก และหนอนเจาะสมอฝ้าย ในรูปสารละลายแขวนลอยและสูตรผงผสมน้ำ วางแผนการทดลองแบบ CRD 15 กรรมวิธี มี 3 ซ้ำ ใช้ไวรัส เอ็นพีวี หนอนกระทู้ผักร่วมกับสารป้องกันรังสียูวีชนิดต่างๆ ได้แก่ สาร Leucophur, สาร Indian ink, สาร Lignin sulphate, สาร Methyl green, สาร Molass, สาร Yeast brewer, สาร Leucophur, สาร Indian ink, สาร Lignin sulphate, สาร Methyl green, สาร Molass, สาร Yeast brewer, สารละลายเชื้อไวรัสไม่ผสมสารป้องกันรังสียูวี (เชื้อสด), เชื้อไวรัสมาตรฐาน และ Control โดยเคลือบผิวหน้าอาหารเทียมด้วยเชื้อไวรัสตามกรรมวิธีทั้งหมด ผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ชนิดและคุณสมบัติของสารเคมีชนิดต่างๆ ในการป้องกันรังสียูวี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเชื้อไวรัสเอ็นพีวีทั้งสามชนิดเมื่อทดสอบในห้องปฏิบัติการพบว่า สารเคมีบางชนิด ได้แก่ Indian ink, Titanium dioxide และกากน้ำตาล สามารถใช้ร่วมกับไวรัสเอ็นพีวีป้องกันรังสียูวี โดยมีเปอร์เซ็นต์การตายของหนอนฉลี่ยระหว่าง 85.0-89.2 เปอร์เซ็นต์ ไม่แตกต่างจากเชื้อมาตรฐาน (เชื้อสด) ที่มีเปอร์เซ็นต์การตายของหนอนฉลี่ย 95.0 เปอร์เซ็นต์ แต่เชื้อที่ไม่ได้ผสมสารป้องกันรังสียูวีมีเปอร์เซ็นต์การตายของหนอนฉลี่ย 61.5 เปอร์เซ็นต์ เมื่อให้เชื้อทั้งหมดผ่านรังสียูวีนาน 3 ชม. ที่พลังงานแสงยูวีบี เฉลี่ย 1μW/m(2)


ไฟล์แนบ
.pdf   2063_2554.pdf (ขนาด: 89.86 KB / ดาวน์โหลด: 665)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม