การชักนำให้ต้นลำไยออกดอกและติดผลในฤดูร้อน
#1
การชักนำให้ต้นลำไยออกดอกและติดผลในฤดูร้อน
พิจิตร ศรีปินตา, สุพัฒธณกิจ โพธิ์สว่าง, อนันต์ ปัญญาเพิ่ม, จันทร์เพ็ญ แสนพรหม, พัชราภรณ์ ลีลาภิรมย์กุล, อนรรค อุปมาลี และศิริพร หัสสรังสี

          การศึกษาการชักนำต้นลำไยออกดอกและติดผลในฤดูร้อน ระหว่างปีพ.ศ. 2549 - 2551 ณ สวนลำไยของเกษตรกรในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 5 กรรมวิธี 4 ซ้ำ กรรมวิธีประกอบด้วย 1) ราดสารโพแทสเซียมคลอเรต อัตรา 50 กรัม/เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร 2) ราดสารโพแทสเซียมคลอเรต อัตรา 50 กรัม/เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร ร่วมกับการพ่นสาร GA3 ความเข้มข้น 50 ppm จำนวน 3 ครั้ง ห่างกัน 3 วัน/ครั้ง ในช่วงแทงช่อดอก 3) ราดสารโพแทสเซียมคลอเรต อัตรา 50 กรัม/เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร ร่วมกับการพ่นสารสกัดจากสาหร่ายทะเล จำนวน 3 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน/ครั้ง ในช่วงดอกบาน 4) ราดสารโพแทสเซียมคลอเรต อัตรา 50 กรัม/เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร ร่วมกับการพ่นแคลเซียม - โบรอน จำนวน 3 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน/ครั้ง ในช่วงดอกบาน และ 5) ราดสารโพแทสเซียมคลอเรตอัตรา 50 กรัม/เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร ร่วมกับการพ่นสารพาโคลบิวทราโซล ความเข้มข้น 50 ppmจำนวน 1 ครั้ง ในช่วงดอกบาน โดยดำเนินการราดสารโพแทสเซียมคลอเรตในช่วงต้นเดือนมีนาคม ทั้งในสภาพที่ลุ่มและที่ดอน ผลการทดลองพบว่า การราดสารโพแทสเซียมคลอเรต อัตรา 50 กรัม/เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร ร่วมกับการพ่นแคลเซียม-โบรอน จำนวน 3 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน/ครั้ง ในช่วงดอกบาน มีเปอร์เซ็นต์การติดผลจำนวนผลเฉลี่ยต่อช่อ ผลผลิตเฉลี่ยต่อต้น มากกว่ากรรมวิธีอื่นทั้ง 3 ปี และการราดสารโพแทสเซียมคลอเรต อัตรา 50 กรัม/เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร โดยไม่พ่นสารเคมีเพื่อช่วยการติดผล (กรรมวิธีควบคุม) มีเปอร์เซ็นต์การติดผล จำนวนผลเฉลี่ยต่อช่อ และผลผลิตเฉลี่ยต่อต้น น้อยกว่ากรรมวิธีอื่นๆ สำหรับขนาดของผลพบว่าทั้ง 3 ปี การราดสารโพแทสเซียมคลอเรตร่วมกับการพ่นสารเคมีชนิดต่างๆ เพื่อช่วยการติดผล (กรรมวิธีที่ 2 - 5) มีขนาดของผลใหญ่กว่ากรรมวิธีควบคุม สำหรับคุณภาพของผลทุกกรรมวิธีไม่มีความแตกต่างกัน


ไฟล์แนบ
.pdf   1015_2551.pdf (ขนาด: 943.9 KB / ดาวน์โหลด: 1,248)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม