ศึกษาการใช้สารดูดออกซิเจนร่วมกับบรรจุภัณฑ์เพื่อลดความสูญเสียจากแมลงในมะขามหวาน
#1
ศึกษาการใช้สารดูดออกซิเจนร่วมกับบรรจุภัณฑ์เพื่อลดความสูญเสียจากแมลงในมะขามหวาน
กรรณิการ์ เพ็งคุ้ม และดวงสมร สุทธิสุทธิ์

          ศึกษาการใช้สารดูดออกซิเจนร่วมกับบรรจุภัณฑ์เพื่อลดความสูญเสียจากแมลงในมะขามหวานหลังการเก็บเกี่ยวทำการศึกษากับแมลงศัตรูสำคัญ 2 ชนิด คือด้วงงวงมะขาม Sitophilus linearis Herbst และด้วงขาโต Caryedon serratus Olivier ณ ห้องปฏิบัติการกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ในปี 2551 โดยแบ่งเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 เพื่อศึกษาผลของ 3 ปัจจัยต่อการควบคุมแมลง โดยวางแผนการทดลองแบบ Factorial in CRD ซึ่ง 3 ปัจจัยดังกล่าวได้แก่ สารดูดออกซิเจน 4 อัตรา คือ 0, 100, 200 และ 300 cc. ร่วมกับการบรรจุในถุงพลาสติก 2 ชนิด คือ KNY และ NY ร่วมกับกรรมวิธีการผนึก 2 กรรมวิธีคือ ผนึกสุญญากาศและผนึกธรรมดา ใช้ระยะเวลาการบรรจุ 1 สัปดาห์ จากการทดลองพบว่าปัจจัยทั้ง 3 ไม่มีผลร่วมกันในการควบคุมแมลงทั้ง 2 ชนิด แต่พบว่าการบรรจุโดยใส่สารดูดออกซิเจนอัตรา 300 cc. สามารถควบคุมด้วงขาโตระยะไข่ได้หมด และการบรรจุโดยใส่สารดูดออกซิเจนทั้ง 3 อัตราสามารถควบคุมด้วงขาโตระยะตัวเต็มวัย ด้วงงวงมะขาม ระยะไข่และระยะตัวเต็มวัยได้หมด ส่วนด้วงงวงมะขามระยะหนอนและระยะดักแด้ก็อ่อนแอต่อการบรรจุโดยใส่สารดูดออกซิเจนทุกอัตราเช่นกัน โดยพบด้วงงวงมะขามรอดชีวิตเพียง 0.3 - 2.3 ตัว/ถุง ขณะที่กรรมวิธีควบคุมพบด้วงงวงมะขามรอดชีวิต 113.0 - 138.0 ตัว/ขวด สำหรับการทดลองที่ 2 ศึกษาเพิ่มในเรื่องผลของระยะเวลาการบรรจุโดยทดสอบระยะเวลาการบรรจุแตกต่างกัน 4 ระยะ คือ 1, 2, 3 และ 4 สัปดาห์ ร่วมกับการใช้สารดูดออกซิเจน 4 อัตรา คือ 0, 100, 200 และ 300 cc. และกรรมวิธีการผนึก 2 กรรมวิธีคือ ผนึกสุญญากาศ และผนึกธรรมดาโดยทดสอบกับด้วงขาโต 2 ระยะ คือ หนอน และดักแด้ พบว่า การใช้สารดูดออกซิเจนอัตรา 100 - 300 cc. ระยะเวลาการบรรจุตั้งแต่ 3 สัปดาห์ สามารถควบคุมด้วงขาโตทั้ง 2 ระยะได้ทั้งหมด และคุณภาพของมะขามหวานไม่เปลี่ยนแปลง


ไฟล์แนบ
.pdf   968_2551.pdf (ขนาด: 1.76 MB / ดาวน์โหลด: 686)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม