การเปรียบเทียบในท้องถิ่น: โคลนอ้อยชุด 2538 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
#1
การเปรียบเทียบในท้องถิ่น: โคลนอ้อยชุด 2538 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วีระพล พลรักดี, สุชาติ คำอ่อน, สมสิทธิ์ จันทรักษ์, ปรีชา แสงโสดา, เบญจมาศ คำสืบ, วสันต์ วรรณจักร์ และบุญอุ้ม แคล้วโยธา

          นำโคลนอ้อยชุด 2538 ที่ผ่านการประเมินผลผลิตในขั้นการเปรียบเทียบมาตรฐานจำนวน 10 โคลน มาประเมินผลผลิตในขั้นการเปรียบเทียบในท้องถิ่น วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 3 ซ้ำ 12 พันธุ์/โคลน ใช้พันธุ์ขอนแก่น80 และ เค 88-92 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ทำการทดลองจำนวน 7 แปลง คือ ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น ศูนย์วิจัยพืชไร่นครราชสีมา ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตมหาสารคาม ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตร้อยเอ็ด ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตเลย ศูนย์วิจัยพืชไร่กาฬสินธุ์ และศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตมุกดาหาร ศึกษาผลผลิตในอ้อยปลูกและอ้อยตอ 1 จากผลการทดลองได้คัดเลือกอ้อยไว้ 2 โคลน คือ 95-2-202 และ 95-2-317 เพื่อนำไปประเมินผลผลิตในขั้นการเปรียบเทียบและทดสอบในไร่เกษตรกร  ในอ้อยปลูกโคลน 95-2-202 และ 95-2-317 ให้ผลผลิตอ้อย 17.2 และ 20.8 ตันต่อไร่ มีค่าซีซีเอส 13.5 และ 13.3 ให้ผลผลิตน้ำตาลที่คำนวณได้ 2.51 และ 2.76 ตันซีซีเอสต่อไร่ และมีเส้นผ่าศูนย์กลางลำ 2.75 และ 3.13 เซนติเมตร ตามลำดับ ในอ้อยตอ 1 โคลน 95-2-202 และ 95-2-317 ให้ผลผลิตอ้อย 15.3 และ 14.3 ตันต่อไร่ มีค่าซีซีเอส 13.4 และ 12.3 ให้ผลผลิตน้ำตาลที่คำนวณได้ 1.97 และ 1.71 ตันซีซีเอสต่อไร่ และมีเส้นผ่าศูนย์กลางลำ 3.0 และ 3.11 เซนติเมตร ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   878_2551..pdf (ขนาด: 950.67 KB / ดาวน์โหลด: 457)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม