โครงการขยายผลการใช้เทคโนโลยีแบบผสมผสานเพื่อควบคุมแมลงวันผลไม้ในชมพู่ ฝรั่ง และพุทรา
#1
โครงการขยายผลการใช้เทคโนโลยีแบบผสมผสานเพื่อควบคุมแมลงวันผลไม้ในชมพู่ ฝรั่ง และพุทรา ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร
จันทนา ใจจิตร, อดิศักดิ์ คำนวณศิลป์, สัญญาณี ศรีคชา, อรทัย เอื้อตระกูล, นพรัตน์ บัวหอม, สุรพล สุขพันธ์, ศิริจันทร์ อินทร์น้อย, อรัญญา ภู่วิไล, อดุลย์รัตน์ แคล้วคลาด, วิไลวรรณ พรหมคำ, วันชัย ถนอมทรัพย์ และปัญญา พุกสุ่น
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5, สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรราชบุรี และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม

          โครงการขยายผลการใช้เทคโนโลยีแบบผสมผสานเพื่อควบคุมแมลงวันผลไม้ในชมพู่ ฝรั่ง และพุทรา วัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ปลอดจากการเข้าทำลายของแมลงวันผลไม้ ต้นแบบที่ได้นำองค์ความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้ เริ่มต้ังแต่การจัดการก่อนการเก็บเกี่ยว เพื่อให้แปลงปลูกสะอาดมีแมลงวันผลไม้เหลือน้อยที่สุด ได้แก่ รักษาความสะอาดของแปลงปลูก ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง ห่อผลด้วยถุงพลาสติก ติดกับดักอย่างง่าย ใช้เหยื่อพิษโปรตีนไฮโดรไลเซท และสำรวจ บันทึกจำนวนแมลงวันผลไม้ ส่วนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อป้องกันการทำลายซ้ำของแมลงวันผลไม้จากที่อื่น เป็นการจัดการในเรื่องการขนย้ายผลผลิตและการคัดแยกผลผลิตที่เก็บเกี่ยวแล้วนำไปคัดแยกในจุดคัดแยกภายในมุ้งตาข่าย ขนาด 30 mesh หรือโรงคัดบรรจุที่ได้มาตรฐานผ่านการรับรองของกรมวิชาการเกษตร (GMP) ดำเนินงานในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดราชบุรี สมุทรสาคร และจังหวัดนครปฐม ระยะเวลาต้ังแต่เดือนตุลาคม 2555 ถึงเดือนมีนาคม 2558 ผลการดำเนินงาน พบว่าคัดเลือกเกษตรกรในปี 2556/2557 จำนวน 60 ราย รวม 262ไร่ และในปี 2557/2558 จำนวน 50 ราย รวม 226 ไร่ จากผลการตรวจนับจำนวนแมลงวันผลไม้ในแปลงพบว่า แมลงวันผลไม้ในแปลงต้นแบบมีจำนวนน้อยกว่าแปลงนอกโครงการฯ ในพืชทุกชนิด ส่วนปริมาณผลผลิตดีที่คัดแยกในมุ้งตาข่ายที่จุดคัดแยกหรือโรงคัดบรรจุของพื้นที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรราชบุรี (ชมพู่ ฝรั่ง และพุทรา) ในปี 2556/57 เฉลี่ยร้อยละ 99.2, 98.6 และ 99.7 ตามลำดับ และปี 2557/58 เฉลี่ยร้อยละ 100, 98.8 และ 100 ตามลำดับ และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม (ชมพู่ และฝรั่ง) ปี 2556/57 เฉลี่ยร้อยละ 97.4 และ 98.1 ในปี 2557/58 เฉลี่ยร้อยละ 98.8 และ 100 ตามลำดับ ในการส่งออกชมพู่สดไปสาธารณรัฐประชาชนจีนได้มีการปรับเทคโนโลยีในปี 2557/2558 เกี่ยวกับระยะเวลาในการห่อผลและถุงห่อผล ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงร่วมระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนผลจากการจัดการระบบการผลิตที่ดีทำให้มีการยกเลิกคำสั่งระงับการส่งออกจากประเทศมาเลเซีย ต้ังแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2555 สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2558 – 31 มกราคม 2559 และมีการส่งออก (เกษตรกรจำนวน 18 ราย และโรงคัดบรรจุ 4 โรง) ท้ังสิ้น 204 ล๊อต น้ำหนักรวม 338.10 ตัน มูลค่าประมาณ 18.76 ล้านบาท


ไฟล์แนบ
.pdf   10_2558.pdf (ขนาด: 933.64 KB / ดาวน์โหลด: 1,141)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม