ทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชของสารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอกในอ้อยปลูกใหม่
#1
ทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชของสารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอก (pre-emergence) ในอ้อยปลูกใหม่
สิริชัย สาธุวิจารณ์, อุดมศักดิ์ ดวนมีสุข, จรรยา มณีโชติ, วนิดา ธารถวิล และตรียนัย ตุงคะเสน
กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพุพรรณบุรี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรที่ 5 กลุ่มบริหารโครงการวิจัย สถาบันวิจัยพืชไร่

          การทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชของสารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอกในอ้อยเพื่อให้ได้วิธีการจัดการวัชพืชประเภทก่อนงอกที่มีประสิทธิภาพ ประหยัด ปลอดภัย ลดต้นทุน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการผลิตอ้อย ดำเนินการทดลองระหวางเดือนพฤษภาคม - กันยายน 2554 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ มี 12 กรรมวิธี ได้แก่ การพ่นสารกำจัดวัชพืช mesotrione/atrazine, atrazine, diuron, flumioxazin, pendimethalin + imazapic, hexazinone/diuron, tebuthiuron + pendimethalin, tebuthiuron + oxyfluorfen, isoxaflutole และ metribuzin อัตรา 150, 600, 480, 20, 132+12, 240, 150+132, 150+35.3, 20 และ 140 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ ตามลำดับ หลังจากปลูกอ้อยกรรมวิธีกำจัดวัชพืชด้วยแรงงานและกรรมวิธีไม่กำจัดวัชพืช ปฏิบัติและดูแลรักษาอ้อยที่ปลูกตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ผลการทดลองพบว่า สารกำจัดวัชพืชที่ใช้ในการทดลองไม่เป็นพิษต่ออ้อยที่ระยะ 15 และ 30 วัน หลังพ่นสารกำจัดวัชพืช สารกำจัดวัชพืช mesotrione/atrazine, atrazine, hexazinone/diuron, tebuthiuron + pendimethalin, tebuthiuron + oxyfluorfen และ isoxaflutole สามารถควบคุมวัชพืชได้ดีที่ระยะ 60 วัน หลังพ่นสารกำจัดวัชพืช วัชพืชหลักที่สามารถควบคุมได้ คือ หญ้าดอกขาว (Leptochloa filiformis (Lam) Beauv.) หญ้านกสีชมพู (Echinochloa colonum Link.) หญ้ากอ (Eriochloa procera Steud.) ผักโขม (Amaranthus viridis L.) ผักเบี้ยหิน (Trianthema portulacastrum L.) และกะเม็ง (Eclipta prostrata L.)


ไฟล์แนบ
.pdf   1874_2554.pdf (ขนาด: 185.59 KB / ดาวน์โหลด: 548)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม