ขนาดและตัวอย่างสุ่มที่เหมาะสมสำหรับประเมินผลผลิตเดือยในไร่เกษตรกร จังหวัดเลย
#1
ขนาดและตัวอย่างสุ่มที่เหมาะสมสำหรับประเมินผลผลิตเดือยในไร่เกษตรกร จังหวัดเลย
ไกรศร ตาวงศ์, พุฒนา รุ่งระวี, เตือนใจ พุดชัง, สมพร วนะสิทธิ์ และวิภารัตน์ ดำริเข้มตระกูล

          ปีงบประมาณ 2550 – 2551 ได้ทำการศึกษา ขนาดและตัวอย่างสุ่มที่เหมาะสมสำหรับประเมินผลผลิตเดือยในไร่เกษตรกร จังหวัดเลย โดยสุ่มเกษตรกรที่ปลูกเดือย ขนาดเนื้อที่ 2 – 7 ไร่ จำนวน 10 แปลง แต่ละรายสุ่มจุดตัวอย่าง ขนาด 10 แถวๆ ละ 15 เมตร ระยะปลูกระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระหว่างต้น 75 เซนติเมตร บนเนื้อที่ปลูกของเกษตรกรตัวอย่าง จำนวน 3 จุด/แปลง คิดเป็นเนื้อที่ 337.5 ตารางเมตร/แปลง เก็บเกี่ยวเดือยแยกเป็นแต่ละหน่วยย่อย 9 ส่วน/จุด ชั่งและบันทึกน้ำหนักแห้งของผลผลิตเดือยออกเป็นส่วนๆ ในแต่ละจุดตัวอย่าง นำข้อมูลผลผลิตมาจัดขนาดต่างๆ กันได้ 14 ขนาด 25 รูปร่าง เมื่อวิเคราะห์ผลตามแนวทางสถิติได้ผลดังนี้ การประเมินผลผลิตเดือยในไร่เกษตรกร ขนาดเนื้อที่ 2 – 7 ไร่ สรุปได้ว่า ควรสุ่มเนื้อที่ตัวอย่างขนาด 13.5 ตารางเมตร รูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า คือ จำนวน 6 แถว ยาว 3 เมตร กำหนดให้ค่าประมาณผิดจากค่าจริงเป็น 15% จำนวน 3 จุดตัวอย่าง และ 2 จุดตัวอย่าง ด้วยระดับความเชื่อมั่น 95% และ 90% ตามลำดับ แต่ถ้าต้องการลดความคลาดเคลื่อนให้น้อยลง โดยกำหนดให้ค่าประมาณผิดจากค่าจริงเป็น 10% จะต้องเพิ่มขนาดตัวอย่างให้มากขึ้นคือ จำนวน 5 จุดตัวอย่าง และ 4 จุดตัวอย่าง ด้วยระดับความเชื่อมั่น 95% และ 90% ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   971_2551.pdf (ขนาด: 948.08 KB / ดาวน์โหลด: 473)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม