การทดสอบประสิทธิภาพ B. subtilis ในการควบคุมโรคใบจุดคะน้าสาเหตุจากเชื้อรา A. brassicic
#1
การทดสอบประสิทธิภาพ Bacillus subtilis ในการควบคุมโรคใบจุดคะน้าสาเหตุจากเชื้อรา Alternaria brassicicola
บุษราคัม อุดมศักดิ์, ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล, บูรณี พั่วงษ์แพทย์ และวรางคนา แช่อ้วง
กลุ่มวิจัยโรคพืช และกลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

การทดสอบประสิทธิภาพของ Bacillus โดยคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีศักยภาพในการยับยั้งเชื้อรา A. brassicicola (Ab) สาเหตุโรคใบจุดคะน้าในห้องปฏิบัติการ จากนั้นคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีศักยภาพไปทดสอบบนคะน้าในโรงเรือนก้อนทดสอบในแปลงปลูก การทดสอบในห้องปฏิบัติการปฏิบัติโดยคัดเลือก Bacillus ซึ่งแยกจากดินปลูก ปุ๋ยคอก และวัสดุปลูกจากแหล่งต่างๆ จำนวน 135 ไอโซเลท มาทดสอบการยับยั้งเชื้อรา Ab บนอาหาร PDA โดยวิธี dual plate technique พบว่า มี Bacillus 90 ไอโซเลท ที่สามารถยับยั้งเชื้อรา Ab ได้ โดย 6 ไอโซเลทที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ได้แก่ 20W4 20W1 20W5 20W12 17G18 และ SA6 นำทั้ง 6 ไอโซเลทไปทดสอบการควบคุมโรคใบจุดคะน้าในโรงเรือนโดยวิธีการพ่นด้วย cell suspension ของ Bacillus พบว่า ทุกไอโซเลทสามารถลดการเกิดโรคได้เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีที่พ่นด้วยน้ำเปล่าซึ่งไม่มีการพ่น Bacillus โดยไอโซเลท 20W12 มีประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมโรค นำทั้ง 6 ไอโซเลทไปทดสอบประสิทธิภาพในแปลงปลูกที่ อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 2 ฤดู โดยวิธีการพ่น วางแผนการทดลองแบบ RCBD มี 4 ซ้ำ ฤดูที่ 1 (ระหว่างเดือนธันวาคม 2553 – กุมภาพันธ์ 2554) มี 9 กรรมวิธี และฤดูที่ 2 (ระหว่างเดือนมิถุนายน 2554 – สิงหาคม 2554) มี 8 กรรมวิธี พบว่า ในฤดูที่ 1 หลังการทดสอบ 7 วัน acillus ทั้ง 6 ไอโซเลท สามารถลดการเกิดโรคได้สูงกว่ากรรมวิธีที่พ่นด้วย Ab โดยไม่มีการพ่นด้วย Bacillus อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่แตกต่างกับกรรมวิธีที่พ่นสาร mancozeb 80%WP โดยไอโซเลท 17G18 20W5 และ 20W1 มีประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมโรค การทดสอบในฤดูที่ 2 พบว่า ไอโซเลท 20W4 20W12 และ 20W11 มีประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมโรคใบจุดคะน้าเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีที่ไม่มีการพ่น Bacillus โดยไอโซเลท 20W4 มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการพ่นด้วยสาร mancozeb 80%WP


ไฟล์แนบ
.pdf   2040_2554.pdf (ขนาด: 112.56 KB / ดาวน์โหลด: 748)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม