การคัดเลือกและขยายหน่อพันธุ์สับปะรดปลอดจากไวรัสสาเหตุโรคเหี่ยว
#1
การคัดเลือกและขยายหน่อพันธุ์สับปะรดปลอดจากไวรัสสาเหตุโรคเหี่ยว
วันเพ็ญ ศรีทองชัย, มัลลิกา นวลแก้ว, สาวิตรี เขมวงศ์ และเขมิกา โขมพัตร
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          จาการสำรวจและเก็บต้นสับปะรดที่มีลักษณะสมบูรณ์ในพื้นที่ปลูกสับปะรดจากศูนย์วิจัยพืชสวนเพชรบุรี ศูนย์วิจัยพืชไร่สงขลา และศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตตรัง จำนวน 109 100 และ 100 ต้น ตามลำดับ รวมเป็น 309 หน่อ หลังจากนำมาตรวจสอบไวรัสของโรคเหี่ยวทั้ง 2 strain (PMWAV-1 & PMWAV-2) ด้วยเทคนิค RT-PCR ผลปรากฏว่า มีหน่อสับปะรดที่ผ่านการตรวจแล้วว่าปลอดไวรัสจำนวน 37 หน่อ จึงนำมาขยายหน่อพันธุ์ปลอดโรคในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช พบว่า การฟอกฆ่าเชื้อที่ติดมากับหน่อสับปะรดปลอดไวรัสด้วย 0.3 % ไฟซาน , 10 % และ 5% คลอร็อกซ์ และ 70 % แอลกอฮอล์ สามารถลดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ในขวดเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้ดี หลังจากเลี้ยงหน่อปลอดโรคในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสูตรชักนำให้เกิดการแตกกอ (สูตรอาหาร MS + BA 1 ppm) ตาเจริญเป็นหน่ออ่อนภายใน 6 สัปดาห์ จึงทำการตัดแยก (subculture) ลงเลี้ยงในสูตรอาหารชักนำให้เกิดการแตกกอ เพื่อเพิ่มปริมาณต้นอ่อนและย้ายอาหารทุก 1-2 เดือน ขณะนี้ขยายปริมาณต้นอ่อนสับปะรดให้ได้ปริมาณ 300 ขวด และส่งให้ศูนย์วิจัยพืชสวนเพชรบุรี 150 ขวด เพื่อดำเนินการขยายต้นอ่อนและเร่งรากในอาหารสูตร MS+IBA 0.5 ppm ให้ได้เป็นต้นอ่อนที่สมบูรณ์ และได้ทำการย้ายปลูกในวัสดุปลูก (ดิน : ขี้เถ้าแกลบ : ขุยมะพร้าว อัตราส่วน 1 : 1 : 1) จำนวน 1,400 ต้น ดูแลรักษาภายใต้โรงเรือนอนุบาล และให้ปุ๋ยละลายน้ำสูตร 16-16-16 สัปดาห์ละ 1 ครั้ง และพ่นสารกำจัดเพลี้ยแป้งเดือนละ 1 ครั้ง พร้อมทั้งโรยยากำจัดมดพบว่า ทุกต้นมีการเจริญเติบโตได้ดี และจะได้มีการสุ่มตรวจไวรัสสาเหตุโรคเหี่ยวในต้นสับปะรดเหล่านี้ต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   1252_2552.pdf (ขนาด: 448.35 KB / ดาวน์โหลด: 1,389)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม