สถานการณ์การแพร่กระจายของเพลี้ยแป้ง C. hispidus Green และ P. lich lichi Cox ในลำไย
#1
สถานการณ์การแพร่กระจายของเพลี้ยแป้ง Cataenococcus hispidus Green และ Planococcus lichi Cox ในลำไย
ศรีจำนรรจ์ ศรีจันทรา, บุษบง มนัสมั่นคง, พวงผกา อ่างมณี, ชลิดา อุณหวุฒิ, ชมัยพร บัวมาศ, วนาพร วงษ์นิคง, สัญญาณี ศรีคชา และเกรียงไกร จำเริญมา
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          สถานการณ์การแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้ง, Cataenococcus hispidus Green และ Planococcus lichi Cox ในลำไย ดำเนินการสำรวจในแหล่งปลูกจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และลำพูน ในระยะที่ผลลำไยมีอายุประมาณ 5 เดือน ถึงระยะเก็บเกี่ยว ในปี 2551 และปี 2552 ผลการสำรวจในแหล่งปลูก อำเภอพร้าว (3) จอมทอง (6) ดอยเต่า (2) ฮอต (2) สารภี (3) หางดง (2) สันป่าตอง (3) แม่วาง (2) และดอยหล่อ (2) จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอบ้านโฮ่ง (3) ป่าซาง (5) เมืองลำพูน (3) ลี้ (4) และเวียงหนองล่อง (3) จังหวัดลำพูน และอำเภอพาน (8) จังหวัดเชียงราย รวม 51 แปลง จากผลผลิตลำไยที่สุ่ม 281.51 กิโลกรัม จำนวน 28,718 ผล ในปี 2551 และ 391 กิโลกรัม จำนวน 38,569 ผล ในปี 2552 พบเพลี้ยแป้งที่ลงทำลายผลพบประมาณ 4 ชนิด คือ Nipaecoccus sp. Pseudococccus sp. Ferrisia vergata และ Unknown ซึ่งต้องรอการยืนยันชนิดจากนักอนุกรมวิธานอีกครั้งหนึ่ง แต่ไม่พบการลงทำลายของเพลี้ยแป้งชนิด C. hispidis เลย


ไฟล์แนบ
.pdf   1237_2552.pdf (ขนาด: 383.81 KB / ดาวน์โหลด: 433)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม