การตรวจวินิจฉัยโรคใบด่างของกล้วยไม้ที่เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Potyvirus
#1
การตรวจวินิจฉัยโรคใบด่างของกล้วยไม้ที่เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Potyvirus
สิทธิศักดิ์ แสไพศาล, วันเพ็ญ ศรีทองชัย และสุรภี กีรติยะอังกูร
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสำนักผู้เชี่ยวชาญ

          การตรวจวินิจฉัยโรคใบด่างของกล้วยไม้ที่เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Potyvirus ทำการเก็บตัวอย่างกล้วยไม้สกุลฟาเลนอพซิส (Phalaenopsis) ออนซิเดียม (Oncidium) แวนด้า (Vanda) ช้างแดง ช้างพลาย (Rhynchostylis) และกล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium ) มอคคาล่า ตรวจหาเชื้อไวรัสในกลุ่ม Potyvirus ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนโดยใช้เทคนิค Brandes’ dip พบอนุภาคไวรัสชนิดท่อนตรงสั้น (stiff rod) (ขนาด 300 นาโนเมตร) ทำการพิสูจน์เชื้อพบว่าเป็น ORSV และพบเชื้อไวรัสชนิดท่อนยาวคด (flexuous rod) ขนาดความยาว 550-650 และ 750-900 นาโนเมตร รวมปะปนกัน ได้ตรวจจำแนกเชื้อไวรัสด้วยวิธี Immuno electron microscope (IEM) และตรวจด้วยวิธี Nitrocellulose membrane-Enzyme-linked immuno sorbent assay (NCMELISA) พบว่า ตัวอย่างไวรัสทั้งหมดเป็น CyMV เนื่องจากอนุภาคไวรัสทั้งหมดถูกเคลือบด้วย IgG ของ CyMV แต่ไม่เคลือบด้วย IgG ของ MAb Poty1 เมื่อดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน และให้ปฏิกิริยาเป็นบวกกับ IgG ของ ORSV และ CyMV แต่ให้ปฏิกิริยาเป็นลบกับ IgG ของ MAb-Poty1 ในวิธี NCM-ELISA ส่วนการศึกษาการถ่ายทอดเชื้อตรวจไม่พบอาการ systemic บนพืชทดสอบและพืชอาศัยทั้ง 4 ชนิด คือ Nicotiana benthamiana, Chenopodium quinoa, Capsicum annuum, Lycopersicon esculentum ซึ่งเป็นลักษณะของ Potyvirus บนกล้วยไม้แต่จะพบอาการจุดแผลสีเหลือง (chlorotic spot) บนใบพืชทดสอบ ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากเชื้อ CyMV ซึ่งจากการตรวจสอบตัวอย่างกล้วยไม้เพื่อหาเชื้อกลุ่ม Potyvirus ทั้ง 3 วิธี จึงสรุปได้ว่ายังไม่พบเชื้อ Potyvirus ของกล้วยไม้ระบาดในประเทศไทย


ไฟล์แนบ
.pdf   1246_2552.pdf (ขนาด: 167.57 KB / ดาวน์โหลด: 746)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม